Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Application of civil penalty into the trade competition act b.e. 2560
Year (A.D.)
2020
Document Type
Thesis
First Advisor
กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2020.810
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอให้มีการนำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้เป็นทางเลือกควบคู่กับการดำเนินคดีอาญาสำหรับการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 50 และ 54 ของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เนื่องจากมาตรฐานการพิสูจน์ในกระบวนการดำเนินคดีอาญาไม่เหมาะสมกับพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมายแข่งขันทางการค้า ทั้งนี้ สามารถจะสังเกตได้ว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่เคยปรากฏว่ามีคำพิพากษาที่ลงโทษพฤติกรรมที่มีโทษทางอาญาตามกฎหมายแข่งขันทางการค้ามาก่อน ในการศึกษาผู้เขียนได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดของมาตรการลงโทษทางแพ่งในระบบกฎหมายของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียมาประกอบกับแนวคิดของมาตรการลงโทษทางการเงินตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของสหภาพยุโรปและของประเทศเยอรมนี การศึกษาดังกล่าวพบว่าการนำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาปรับใช้เป็นทางเลือกควบคู่กับการดำเนินคดีอาญาจะทำให้สามารถลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดได้ดีขึ้น แต่จำเป็นที่จะต้องมีการบัญญัติสิทธิของจำเลยในกระบวนการดำเนินคดีมาตรการลงโทษทางแพ่งให้เป็นเช่นเดียวกับสิทธิของจำเลยในกระบวนการดำเนินคดีทางอาญา ส่วนการปรับใช้มาตรการทางโทษแพ่งกับพฤติกรรมที่มีโทษทางปกครองนั้น ผู้เขียนเห็นว่าไม่เหมาะสมเพราะผู้มีสิทธิฟ้องคดีในกระบวนการดำเนินคดีมาตรการลงโทษทางแพ่งและผู้มีสิทธิฟ้องคดีในกระบวนการดำเนินคดีปกครองนั้นต่างกัน ในการกระบวนการดำเนินคดีมาตรการลงโทษทางแพ่งรัฐเท่านั้นที่จะสามารถฟ้องคดีได้ ในขณะที่ในกระบวนการดำเนินคดีทางปกครอง ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง คือ ปัจเจกชนที่ทำการโต้แย้งคำสั่งทางปกครอง อนึ่ง สภาพบังคับของมาตรการลงโทษทางแพ่งจะประกอบไปด้วยค่าปรับทางแพ่ง การเรียกคืนกำไรที่ได้ไปจากการกระทำความผิด และการชดเชยเงินที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ไปเพื่อตรวจสอบการกระทำความผิด
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This thesis proposes the application of the civil penalty as an alternative procedure along with criminal procedure for conducts violating section 50 and section 54 of Trade Competition Act B.E. 2560. The reason is that the standard of proof in criminal procedure is not suitable for conducts violating competition law. It can be noticed that there is still no judgement imposing to criminal sanctions for conducts that violate the Trade Competition law until today. In this study, the author has comparatively studied the concept of civil penalty in legal systems of Thailand, the United States of America and Australia together with the concept of the monetary penalty in competition law of the European Union and Germany. The study shows that application of civil penalty as an alternative procedure along with the criminal procedure makes the enforcement of section 50 and section 54 of Trade Competition Act B.E. 2560 more effective. However, it is indispensable to entitle the defendant in civil penalty procedure the same rights as the defendant in criminal procedure. The author disagrees to apply the civil penalty to conducts which are sanctionable by administrative penalty because the person who has the right to bring a prosecution in civil penalty procedure and the person who has the right to file a case in administrative procedure is different. In civil penalty procedure, only the state is entitled to file the lawsuit, meanwhile, in the administrative procedure, the plaintiff shall be an individual who contested the administrative order. The sanctions of civil penalty include civil fine, disgorgement of benefit, and reimbursement of investigative expenses.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จารุธรรม, ภวัลกรณ์, "การปรับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งในพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 4354.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4354