Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Service innovation of integrated social support through social network to enhance the quality of life of metastatic breast cancer patients
Year (A.D.)
2020
Document Type
Thesis
First Advisor
ทรงพันธ์ เจิมประยงค์
Second Advisor
นภา ปริญญานิติกูล
Third Advisor
อุทัย ตันละมัย
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2020.742
Abstract
การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายจำเป็นที่จะต้องครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลด้านสุขภาพจิตจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากสังคมนอกเหนือจากบุคคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายโดยใช้การสนับสนุนทางสังคมแบบบูรณาการผ่านเครือข่ายทางสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายอีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการมีทัศนคติที่ดีและความสามารถในการเผชิญกับโรคร้ายได้ การศึกษาวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะประกอบด้วย ระยะที่ 1: การพัฒนาเครื่องมือการประเมินผลด้านคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยเริ่มด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่มเพื่อค้นหาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือการประเมินคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย ผ่านการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แก่นสาระ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาข้อคำถาม และการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยรูปแบบการทำแบบสอบถามทั้งแบบกระดาษและออนไลน์จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ เพื่อทดสอบความเชื่อมั่นความสอดคล้องภายใน การทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง การวิเคราะห์ตัวแปรเชิงสำรวจ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก การทดสอบความคงที่ภายใน การทดสอบค่าความสัมพันธ์กับตัวแปรที่เกี่ยวข้องในแบบวัดอื่นและการทดสอบความเที่ยงโดยการทดสอบซ้ำ ผลลัพธ์ที่ได้คือแบบประเมินคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย (BCM01) จำนวน 8 ข้อ ที่สามารถวัดผลลัพธ์ใน 3 ด้าน ประกอบด้วยการใช้ปัจจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวแปร ระยะที่ 2: การพัฒนานวัตกรรมบริการสำหรับการสนับสนุนทางสังคมแบบบูรณาการผ่านเครือข่ายทางสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการค้นหาเหตุและปัจจัยที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองที่แท้จริงของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายด้านการสนับสนุนทางสังคมแบบบูรณาการ ที่ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ การสนับสนุนด้านอารมณ์ การสนับสนุนด้านเครือข่าย การสนับสนุนด้านข้อมูล การสนับสนุนด้านทรัพยากร และการสนับสนุนด้านการประเมิน ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แก่นสาระและการใช้เทคนิคการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมบริการสำหรับการสนับสนุนทางสังคมแบบบูรณาการผ่านเครือข่ายทางสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย ผ่านแพลตฟอร์มเฟสบุ๊คกลุ่มปิด “Positive Life ชีวิตคิดบวก” ระยะที่ 3: การทดสอบประสิทธิภาพและการยอมรับนวัตกรรมบริการด้านการสนับสนุนทางสังคมแบบบูรณาการผ่านเครือข่ายทางสังคม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมบริการสำหรับการสนับสนุนทางสังคมแบบบูรณาการผ่านเครือข่ายทางสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการเปรียบเทียบคะแนนการประเมินคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมบริการสำหรับการสนับสนุนทางสังคมแบบบูรณาการ ระยะเวลา 60 วัน พบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ในด้านการประเมินภาวะทางสุขภาพโดยรวม ด้านบทบาท-หน้าที่ ด้านความคิดความเข้าใจ ด้านความเหนื่อยล้าและด้านความเจ็บปวดในแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง (EORTC-QLQ-C30) นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมวิจัยมีคุณภาพชีวิตด้านความสุขทางเพศในแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม (EORTC-QLQ-BR23) ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญและการศึกษาการยอมรับนวัตกรรมบริการด้านการสนับสนุนทางสังคมแบบบูรณาการผ่านเครือข่ายทางสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย โดยการวิจัยเชิงผสมผสานด้วยเก็บข้อมูลผ่านทางระบบแชทบอท (Chatbot) พบว่าการประเมินการยอมรับนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในในระดับดี ส่งผลให้นวัตกรรมบริการด้านการสนับสนุนทางสังคมแบบบูรณาการผ่านเครือข่ายสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและการยอมรับจากผู้ใช้งาน แม้ว่าผลลัพธ์โดยรวมจะมีแนวโน้มที่ดี แต่ก็มีปัจจัยหลายประการที่ต้องพิจารณาสำหรับการศึกษาในอนาคตและการนำนวัตกรรมไปใช้งาน เช่น ระยะเวลาในการทดสอบนวัตกรรม ขนาดของกลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัย ผลกระทบที่เกิดจากสุขภาพและแผนการรักษา เป็นต้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Providing care for patients with metastatic breast cancer (MBC) should covers both physical and mental health. Particularly, mental health may need support from society in addition to health care professionals. This study aims to improve the quality of life of MBC patients with an integrated social support via social network platform. The methods were divided into 3 phases. Phase I aims to develop and validate of an instrument to measure quality-of-life of MBC patients in affective, cognitive, and behavioral domains. Applying a mixed method approach, the study was conducted an item development based on focus group results. Then, an eight-item questionnaire with 4-level Likert scale was evaluated in terms of validity and reliability testing for content validity, interrater reliability, construct validity, item reduction, exploratory factor analysis using Principal Component Analysis, convergent validity, and test-retest reliability. The results indicate that the measure had a strong validity but require improvements in certain aspects of reliability. Phase II included the development of service innovation of integrated social support through social network to enhance the quality of life of MBC patients. This phase used the results from the same focus group with Phase I to find out the unmet needs of metastatic breast cancer patients, care givers, and health care professionals. Subsequently, applying design thinking approach, the requirements then supplied as input for designing an integrated service innovation supporting patients in terms of emotion, network, information, instrument, and appraisal. The prototype was then developed based on Facebook Group platform titled "Positive Life". Phase III evaluated the effectiveness and acceptance of the developed service innovation using relevant existing measurements as well as the newly developed measure. The results from pre- and post-intervention show that after 60 days of joining the group, the quality of life of the participants in terms of overall health, role and cognitive functions, and fatigue and pain increased significantly based on EORTC-QLQ-C30 scale. In addition, the satisfaction in sexual activities decreased substantially after participating in the study based on EORTC-QLQ-BR23 questionnaire). In terms of the evaluation of technology acceptance conducted via chatbot, the results indicated that the developed service innovation was well-received. While the overall results seem promising, there are a number of factors to be considered for future study and project implementation, for example, duration of intervention, group size and the impact of physical health and treatment plan.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ธนะสารสมบูรณ์, ภูมิพัฒน์, "นวัตกรรมบริการสำหรับการสนับสนุนทางสังคมแบบบูรณาการผ่านเครือข่ายทางสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 4287.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4287