Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of a diagnostic test in ionic bonding using G-Dina cognitive diagnosis model for tenth grade students

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ณภัทร ชัยมงคล

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การวัดและประเมินผลการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.608

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิก 2) พัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ และ 3) ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ โดยแบ่งการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิก ระยะที่ 2 การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ ระยะที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยทั้งหมด คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1,234 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบตรวจสอบรายการและแบบสอบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับเมทริกซ์คิวด้วยดัชนี IOC การตรวจสอบคุณภาพเมทริกซ์คิวด้วยวิธีการใช้ดัชนี PVAF การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบด้วยดัชนี PVAF TPR TNR PCA และ PCV และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบด้วยวิธีของคูเดอร์ – ริชาร์ดสัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิก พบว่า กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิก จำนวน 30 มโนทัศน์ และสามารถนำผลการสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิกมาจัดกลุ่มตามทักษะในเรื่องพันธะไอออนิกได้ จำนวน 3 ทักษะ คือ 1) การอธิบายการเกิดพันธะไอออนิก 2) การเขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก และ 3) การระบุปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบไอออนิก 2. ผลการพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ พบว่า แบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกประกอบด้วยข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยแต่ละข้อมีการให้คะแนนเป็นแบบ 0 และ 1 กล่าวคือ ตอบผิดได้ 0 คะแนน และตอบถูกได้ 1 คะแนน และตัวเลือกลวงสร้างมาจากมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิก 3. ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบที่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับ พบว่า ข้อสอบในแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์เรื่องพันธะไอออนิกมีค่าดัชนีอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.062 ถึง 0.773 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ จำนวน 20 ข้อ คิดเป็น ร้อยละ 66.7 และข้อสอบที่มีค่าดัชนี PVAF เป็นไปตามเกณฑ์ จำนวน 18 ข้อ คิดเป็น ร้อยละ 60.0 ผลการตรวจสอบค่าดัชนี TPR และ TNR พบว่า ดัชนี PVAF มีประสิทธิภาพไม่เป็นไปตามเกณฑ์ตามที่กำหนด ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนี PCA และ PCV พบว่า เมทริกซ์คิวมีความถูกต้องในการจำแนกทักษะคิดเป็นร้อยละ 99.21 กล่าวคือแบบสอบสามารถจำแนกทักษะที่มุ่งวัดได้อย่างถูกต้อง และค่าความเที่ยงของแบบสอบมีค่าเท่ากับ 0.845 ซึ่งผ่านตามเกณฑ์และอยู่ในระดับค่อนข้างสูง สำหรับผลการให้ข้อมูลป้อนกลับใช้ผลจากผลการวิเคราะห์มโนทัศน์โดยมีการระบุจุดแข็งและจุดที่ควรปรับปรุงในทักษะเรื่องพันธะไอออนิกเป็นรายบุคคล โดยข้อมูลป้อนกลับแสดงอยู่ในรูปแบบรายงานซึ่งส่งกลับไปยังครูผู้สอนของกลุ่มเป้าหมายอันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนเพื่อลดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในเรื่องพันธะไอออนิกของผู้เรียนต่อไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were to 1) explore misconceptions about ionic bonding, 2) develop the ionic bonding diagnostic test with feedback, and 3) examine the quality of the ionic bonding diagnostic test with feedback. The research was divided into 3 phases. In phase 1, the misconceptions about ionic bonding were explored. Phase 2 was carried out to develop the ionic bonding diagnostic test with feedback, and the ionic bonding diagnostic test with feedback was validated in phase 3. The target group was 1,234 tenth grade students. Two instruments that were developed in this research included a checklist and an ionic bonding diagnostic test. Q-matrix was validated through IOC and PVAF indices. Item discrimination, TPR, TNR, PCA and PCV indices were analyzed to assess validity and accuracy of PVAF index, and the KR20 was used to quantify test reliability. The research findings were as follows: 1. 30 out of 37 misconceptions about ionic bonding were found in the target group of students and they were classified into 3 skills: 1) explaining the formation of ionic bonding, 2) writing and naming ionic compounds, and 3) identifying interactions between ionic compounds. 2. The ionic bonding diagnostic test consists of thirty-multiple-choice items, each of which was scored 1 or 0 for correct and incorrect responses, respectively. The distractors were developed based on students’ misconceptions about ionic bonding. 3. The ionic bonding concept diagnostic test had discrimination indices ranging from 0.062 to 0.773. There were 20 items with discrimination indices above the criteria, representing 66.7% of all items. The PVAF index was able to specify the students' skills correctly for 18 items, representing 60.0% of all items. As for the results of TPR and TNR indices, the test did not meet the criteria. However, PCA and PCV showed that the Q-matrix had a classification accuracy of 99.21%, suggesting that the Q-matrix could specify students’ skills accurately. The test had a reliability coefficient of 0.845 which was acceptable high and passed the criteria. The feedback obtained from the analysis of strengths and areas for improvement for individual students were reported to teachers of the target group of students as useful feedback information for correcting students’ misconceptions about ionic bonding.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.