Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Disclosure of Corruption in Public Section
Year (A.D.)
1991
Document Type
Thesis
First Advisor
วีระพงษ์ บุญโญภาส
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1991.507
Abstract
การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวความคิดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยกรณี การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ขอบเขตความหมายของบทบัญญัติมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ตลอดจนขอบเขตของการเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ที่เหมาะสมกับสภาพสังคม การเมือง และการปกครองของไทย การวิจัยนี้จึงใช้ทั้งการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยศึกษาเฉพาะการเปิดเผยโดย ป.ป.ป.ต่อประชาชนทั่งไป และมุ่งเน้นการเปิดเผยข้อความข้อเท็จจริง หรือข้อมูล ที่ได้มาเนื่องจากการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ผลการวิจัยพบว่า การเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเป็นเรื่องการล่วงล้ำกันระหว่างสิทธิของสาธารณชน ในการับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศชาติกับสิทธิของปัจเจกชนในชื่อเสียงเกียรติคุณของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจากการชั่งน้ำหนักความสำคัญของสิทธิทั้งสองประการ ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าควรให้ความสำคัญกับสิทธิของสาธารณชนมากกว่าสิทธิในชื่อเสียงเกียรติคุณของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากการเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เป็นมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการที่เหมาะสมกับสภาพสังคม การเมือง การปกครองของไทย แต่การเปิดเผยต้องไม่ล้วงล้ำเข้าไปในเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามบทบัญญัติมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ป.ป.ป.จะเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ให้ประชาชนทั่วไปทราบได้ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ป.ใช้ดุลพินิจมอบหมาย แต่แม้การเปิดเผยดังกล่าว จะเป็นข้อยกเว้นให้การกระทำได้โดยไม่เป็นความผิดตามมาตรา 25 ก็ตาม การกระทำนั้นก็อาจเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา และแม้การกระทำอาจมีเหตุยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ ก็เป็นเรื่องยุ่งยากที่ต้องไปว่ากล่าวฟ้องร้องกันในศาล
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ธรรมจริยาพันธุ์, สมพร, "การเปิดเผยกรณีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ" (1991). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 39124.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/39124