Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
ผลของดีอะลูมิเนชันและดีซิลิเกชันของซีโอไลต์บีต้าต่อสมรรถนะของตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลในไฮโดรไอโซเมอไรเซชันสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน
Year (A.D.)
2020
Document Type
Thesis
First Advisor
Napida Hinchiranan
Faculty/College
Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Petrochemistry and Polymer Science
DOI
10.58837/CHULA.THE.2020.364
Abstract
-The Global aviation fuel consumption tends to increase. In recent years, the European Union has announced that fossil fuels jet fuel must be mixed with 10% biofuels in 2020. bio-jet fuel production has many processes such as biomass pyrolysis. or hydro-p
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
ปริมาณการใช้น้ำมันอากาศยานทั่วโลกมีแนวโน้มของความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.3% ต่อปีจนถึงปี 2030 และไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้สหภาพยุโรปได้ประกาศให้ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสําหรับการคมนาคมทางอากาศต้องผสมด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ 10% ภายในปี 2020 น้ำมันชีวภาพอากาศยาน (bio-jet fuel) สามารถผลิตได้จากหลายกระบวนการ เช่น การผลิตจากชีวมวลผ่านกระบวนการไพโรไรซิส (pyrolysis) และแกซิฟิเคชัน (gasification) หรือน้ำมันพืชที่ต้องให้ความร้อนภายใต้บรรยากาศของแก๊สไฮโดรเจน แต่น้ำมันชีวภาพอากาศยานที่ผลิตขึ้นมานั้นต้องมีสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ASTM D7566 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีจุดเยือกแข็งและความเสถียรเพื่อให้สามารถนำไปใช้โดยตรงหรือนำไปใช้ในการผสมกับน้ำมันอากาศยานที่ผลิตจากปิโตรเลียม โดยในงานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการไฮโดรไอโซเมอไรเซชันจากน้ำมันปาล์ม ซึ่งใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา โลหะนิกเกิล (Ni)บนตัวรองรับเบต้าซีโอไลต์ที่ผ่านกระบวนการดีอะลูมิเนชันและดีซิลิเกชัน โดยจะศึกษาผลของตัวแปรต่าง เช่น ความเข้มข้นของกรดหรือเบสที่ใช้ (0.25-0.75 โมลาร์), ความดันแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น (30-50 บาร์) และอุณหภูมิของปฏิกิริยา (320-360 องศาเซลเซียส) ในการใช้โลหะนิกเกิลบนตัวรองรับที่ผ่านการดีซิลิเกชันโดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จะสามารถลดการถ่านโค้กบนตัวเร่งปฏิกิริยาหลังทำปฏิกิริรยาได้มันชีวภาพจากไฮโดรไอโซเมอไรเซชันที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะนิกเกิลบนตัวรองรับที่ผ่านกระบวนการดีอะลูมิเนชันโดยใช้กรดไฮโดรฟลูออริกในสารละลายแอมโมเนียมฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 0.25 โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 340 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 40 บาร์ โดยให้ค่าปริมาณไอโซต่อนอร์มอร์อัลเคนที่ 2.54 สามารถลดจุดเยือดแข็งได้ถึง -60.1 องศาเซลเซียส
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Hunsiri, Warodom, "Effect of dealumination and desilication of beta zeolite on performance of nickel catalysts in hydroisomerization for bio-jet fuel production" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 380.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/380