Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การกำหนดเกณฑ์อายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The application of age in the franchise and eligibility for Thai law
Year (A.D.)
1993
Document Type
Thesis
First Advisor
ศุภลักษณ์ นาคีสถิตย์
Second Advisor
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1993.434
Abstract
การเลือกตั้ง เป็นหลักการที่สำคัญประการหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในอันที่จะให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ควรที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งโดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการกำหนดอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายเลือกตั้ง ตลอดจนการกำหนดอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งของต่างประเทศ เพื่อศึกษาหาแนวทางในการกำหนดเกณฑ์อายุที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ในการเลือกตั้งของไทย ผลการวิจัยพบว่า โดยทั่วไปการกำหนดเกณฑ์อายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้งขึ้นอยู่กับเหตุผล 3 ประการ กล่าวคือ แนวความคิดทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ หลักทางสังคมวิทยาและจิตวิทยา และกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย ซึ่งการกำหนดอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้งของไทยที่ให้บุคคลอายุ 20 ปี ขึ้นไปมีสิทธิเลือกตั้งนั้น เป็นการยึดถือเกณฑ์อายุตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถือว่า บุคคลจะเป็นผู้ใหญ่เมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และได้บวชเรียนแล้ว นอกจากนี้การกำหนดอายุยังขึ้นอยู่กับเกณฑ์อายุบรรลุนิติภาวะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่ถูกต้องกับหลักการในสากลประเทศ จึงเห็นควรที่จะมีการแก้ไขกฎหมายในเรื่องนี้ โดยให้บุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไปมีสิทธิเลือกตั้ง เนื่องจากในสภาพปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมแปรเปลี่ยนไป การศึกษาของประชาชนและการสื่อสารมวลชนเจริญก้าวหน้าปาก อีกทั้งกฎหมายของไทยก็ได้ระบุว่าบุคคลที่มีอายุ 18 ปี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาแล้วเป็นเวลานาน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Election is one of the most significant principles in democracy, in which enables people to participate their politics. Therefore, the election law that provides the qualifications of eligible voter will be of worth. To enact the law on election, it should be open widely in order to let most people to participate their election with less limitation. The objectives of this study are as follows: to study the history of providing voting ages according to the Thai Constitution and the Electoral Law as well as other countries and to study the principle of fixing voting age applicable to the Thai election law. The result of this study is that the application of voting ages depend on these 3 reasons; the criteria of politics and economics, the criteria of sociology and the criteria of psychology. The criteria of voting age according to the Thai Constitution and the Electoral Law which allow a person with the age of twenty and over derives from the Thai culture and custom that a person with the age of twenty and over will be considered as maturity. He can be in the priesthood. This concept is also applied in the Civil Code too. However this criteria is not in harmony with many other countries. The study suggest that the voting age as applied in the Thai election law should be changed by permitting the person with the age of 18 years has the right to vote. This is due to the fact that, the Thai society has been greatly changed from the past. The Thai people are educated and high technology including Thai Laws has been existed in the Thai society. Therefore it is recommended that the person with the age of 18 years should have the right to vote.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จิตรแก้ว, ภิญโญ, "การกำหนดเกณฑ์อายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายไทย" (1993). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 37228.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/37228