Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลกระทบของบรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะที่มีต่อสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครูและผลที่ตามมา
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
IMPACTS OF HEALTHY CLASSROOM CLIMATE ON STUDENT TEACHERS’ SOCIAL EMOTIONAL COMPETENCE AND ITS CONSEQUENCES
Year (A.D.)
2016
Document Type
Thesis
First Advisor
สุวิมล ว่องวาณิช
Second Advisor
กนิษฐ์ ศรีเคลือบ
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2016.859
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับการรับรู้บรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะ และสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครู 2) เปรียบเทียบการรับรู้บรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะ และสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครูที่มีภูมิหลังต่างกัน และ 3) เพื่อวิเคราะห์โมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุของบรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะที่มีต่อสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครู และผลที่ตามมาด้านความตั้งใจสร้างบรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะและความตั้งใจพัฒนาสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักเรียนของตน ตัวอย่างวิจัยคือ นักศึกษาครูในคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 718 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงมีค่าอยู่ระหว่าง 0.55 - 0.96 และมีคุณภาพด้านความตรงเชิงโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติเชิงสรุปอ้างอิง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. การรับรู้บรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะ (M = 3.75, SD = 0.57) และสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครู (M = 3.94, SD = 0.47) อยู่ในระดับมาก 2. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นปีและสาขาวิชาที่มีต่อการรับรู้บรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสาขามัธยมศึกษา (ศิลป์) และสาขาประถมศึกษา รับรู้ว่ามีบรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะสูงขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 สูงกว่าชั้นปี 1 และชั้นปี 3 และของสาขามัธยมศึกษา (ศิลป์) สูงกว่ามัธยมศึกษา (วิทย์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะที่มีต่อสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครูและผลที่ตามมา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square (27, N = 718) = 36.37, p > .05; RMSEA = 0.02; AGFI = 0.98; SRMR = 0.03) โดยการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครูมากกว่าบรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะ (0.64 และ 0.22 ตามลำดับ) ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครูได้ร้อยละ 63 สมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครูมีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจในการสร้างบรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะ (0.64) ความตั้งใจในการสร้างบรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะมีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจในการสร้างสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักเรียนมากที่สุด (0.79) นอกจากนี้ สมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครู และการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจในการสร้างสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักเรียน (0.50 และ 0.40 ตามลำดับ)
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were 1) to analyze healthy classroom climate and student teachers’ social emotional competence 2) to compare healthy classroom climate and student teachers’ social emotional competence with different year and major and 3) to develop a cause-and-effect model of healthy classroom climate on student teachers' social emotional competence and its consequences. Sample of the study were 718 student teachers. Data were collected using a 5-point rating scale questionnaire which had content validity, reliability (0.55 - 0.96), and construct validity. Data were analyzed using descriptive statistics and inferential statistics by SPSS and Structural Equation Modeling analysis (SEM) by LISREL. The research findings were as follows: 1. Student teachers had healthy classroom climate at high level (M = 3.75, SD = 0.57). Student teachers had student teachers' social emotional competence at high level (M = 3.94, SD = 0.47). 2. The interaction effect between years and major in terms of healthy classroom climate was statistically significant at the .05 level. Student’s teacher with social secondary education major and elementary education major had higher healthy classroom climate in higher years. On the other hand, the fourth year student’s teacher had student teachers’ social emotional competence higher than the first year and the third year, social secondary education major higher than science secondary education major, significant at the .05 level. 3. The cause-and-effect model of healthy classroom climate on student teachers' social emotional competence and its consequences fitted with empirical data (Chi-square (27, N = 718) = 36.37, p > .05; RMSEA = 0.02; AGFI = 0.98; SRMR = 0.03). Parenting of family had a more direct effect on student teachers' social emotional competence than healthy classroom climate (0.64, 0.22 respectively). There can explained the variance of the student teachers' social emotional competence 63%. Student teachers' social emotional competence had direct effect on intention to build healthy classroom climate (0.64). Intention to build healthy classroom climate had highest direct effect on intention to develop students’ social emotional competence (0.79). On the other hand, student teachers' social emotional competence and parenting of family had indirect effect on intention to develop students’ social emotional competence (0.50, 0.40 respectively)
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
นาสวาสดิ์, น้ำฝน, "ผลกระทบของบรรยากาศชั้นเรียนสุขภาวะที่มีต่อสมรรถนะทางอารมณ์เชิงสังคมของนักศึกษาครูและผลที่ตามมา" (2016). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36751.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36751