Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The relationship between online social media usage behavior and health promotion behaviors of the elderly in Bangkok

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

สุจิตรา สุคนธทรัพย์

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.1010

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มาใช้บริการศูนย์สร้างสุขทุกวัย 15 ศูนย์ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 405 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบไปด้วยข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 0.94 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่าผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ในการสื่อออนไลน์ มีพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากและความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับต่ำทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับต่ำทางบวกในทุกด้าน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this study was to study the relationship between the online social media usage behavior and health promotion behavior of the elderly in Bangkok. The methods of this study was about the survey research, consisted of 405 elders over 60 years old attended 15 Srangsuktukwai Centers. The data was collected by using online questionnaires comprised of three sections, general information, online social media behavior and health promotion behavior. The Item Objective Congruence Index (IOC) was 0.94 respectively, also the reliability was 0.83 respectively. The data analysis was conducted by using frequency, percentage, average, standard deviation and Pearson's Correlation Coefficient. The Results of this study was almost elders that were female with the education of bachelor's degree or higher. The elders were usually used mobile phone for online social media. Overall, the online social media usage behaviors had a low level. The health promotion behaviors had a hight level. The relationships between the online social media usage behaviors and health promotion behaviors had a low level of a significant positive correlation at 0.05 The Conclusion of this study was the relationships between the online social media usage behaviors and health promotion behaviors had in a low level of a significant positive correlation.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.