Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Prevalence, clinical characteristics and associated factors of thyrotoxic cardiomyopathy in hospitalized patients with heart failure

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

ศริญญา ภูวนันท์

Second Advisor

ปนัดดา ศรีจอมขวัญ

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.1511

Abstract

ที่มาและความสำคัญ: ความชุกของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและการฟื้นตัวของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบดีในปัจจุบัน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษและการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและเพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษ ระเบียบวิธีวิจัย: ทำการศึกษาแบบทบทวนย้อนหลังในผู้ป่วย 90 คนที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษระหว่างปีพ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2560 ทำการคัดผู้ป่วย 26 คนออกจากการศึกษาเนื่องจากมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (2 คน) ลิ้นหัวใจเอออติกตีบรุนแรง (1 คน) ลิ้นหัวใจไมตรัลตีบหรือรั่วรุนแรง (4 คน) หลอดเลือดหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด (1 คน) และไม่มีผลการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะนอนโรงพยาบาล (18 คน) ได้ผู้ป่วยเข้าสู่การศึกษาทั้งหมด 64 คน โดยกำหนดนิยามดังนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษ คือ มีการบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่างน้อยกว่าร้อยละ 55 การฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษโดยสมบูรณ์ คือ มีการฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่างมากกว่าร้อยละ 55 และการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษบางส่วน คือ มีการฟื้นตัวของการบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่างเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 แต่การบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่างยังน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 55 ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 64 คน มีผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง (Heart failure with reduced ejection fraction; HFrEF) คิดเป็นร้อยละ 19 และมีผู้ป่วยที่มีภาวะภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษ 33 คน คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่มานอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุอยู่ที่ 46 + 15 ปี เป็นผู้หญิงร้อยละ 58 ในจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษ 33 คน มีผู้ป่วย 14 คนที่มีผลการตรวจติดตามคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหลังการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และมีผู้ป่วย 7 คนคิดเป็นร้อยละ 57 ที่มีการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งผู้ป่วย 7 คนมีการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษโดยสมบูรณ์ และ 1 คนมีการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษบางส่วน จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษพบว่าระดับฮีโมโกลบิน ระดับเม็ดเลือดขาว และระดับครีเอตินีนที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษโดยสมบูรณ์ โดยมีค่าอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยงเป็น 1.35 ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เป็น 1.01-1.79; ค่า p=0.043, 1.01 ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เป็น 1.01-1.02; ค่า p=0.004, และ 16.55 ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เป็น 2.14-128.02; ค่า p=0.07 ตามลำดับ ส่วนระดับไบคาร์บอเนตและค่า Tricuspid annular plane systolic excursion (TAPSE) ที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับภาวะกล้ามเนื่อหัวใจทำงานผิดปกติจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ มีค่าอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยงเป็น 0.85 ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เป็น 0.73-0.98; ค่า p=0.028, และ 0.67 ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เป็น 0.46-0.98; ค่า p=0.037 ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดที่ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวและมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษพบได้มากถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยในกลุ่มนี้ โดยที่ร้อยละ 57 ของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษมีการฟื้นตัวของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากไทรอยด์เป็นพิษภายหลังการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ มีค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาที่ตรวจติดตามอยู่ที่ 19 เดือน ซึ่งผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสืบค้นหาภาวะไทรอยด์เป็นพิษในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เพราะการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษสามารถนำไปสู่การหายจากภาวะหัวใจล้มเหลวและการฟื้นตัวของการบับตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายอย่างมีนัยสำคัญ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: The prevalence of thyrotoxic cardiomyopathy (TCM) in hospitalized patients with heart failure and its recovery are unknown. Objectives: To determine the prevalence of TCM and reversible TCM in hospitalized patients with heart failure and to determine factors associated with TCM. Methods: We retrospectively reviewed 90 consecutive patients who were hospitalized with heart failure and thyrotoxicosis between 2002 and 2017. We excluded 26 patients because of significant coronary artery disease (n=2), severe aortic stenosis (n=1), severe primary mitral valve diseases (n=4), abnormal coronary artery (n=1), and absence of echocardiographic report during admission (n=18). 64 patients were included in the study. TCM was defined as LV ejection fraction (LVEF) ≤ 55%. Complete reversible TCM was defined as LVEF > 55%. Partial reversible cardiomyopathy was defined as improvement of LVEF > 10% and LVEF ≤ 55%. Results: Of 82 hospitalized patients with heart failure and thyrotoxicosis, 64 patients had complete echocardiographic studies for analysis. Of 64 patients, 12 (19%) patients had heart failure with reduced EF (HF-rEF) and 33 (58% female, age 46 ±15 years) patients (52%) had thyrotoxic cardiomyopathy (TCM). Prevalence of TCM is 0.9% of all heart failure hospitalized patient. In those with TCM, a mean LVEF =42%, Of 33 patients with TCM, 14 had follow-up complete echocardiographic studies for analysis. Of 14 patients, 8 patients (57%) had reversible TCM over a mean follow-up of 19 (1-79) months. Of 8 patients, 7 had complete recovery (LVEF>55%) while 1 had partial recovery. Hemoglobin, White blood cell, serum creatinine, bicarbonate, and Tricuspid annular plane systolic excursion (TAPSE) were associated with thyrotoxic cardiomyopathy (Odd ratio = 1.35 (95% CI 1.01-1.79; p=0.043), 1.01 (95% CI 1.01-1.02; p=0.004), 16.55 (95% CI 2.14-128.02; p=0.07), 0.85 (95% CI 0.73-0.98; p=0.028), and 0.67 (95% CI 0.46-0.98; p=0.037), respectively). Conclusions: To our knowledge, this report is the largest study in hospitalized patients with thyrotoxicosis and heart failure. Thyrotoxicosis cardiomyopathy (TCM) was present in half of patients who were hospitalized with heart failure and thyrotoxicosis. About 57% of those patients with TCM had recovery of LV systolic function over a median follow-up of 19 months. These findings underscore the importance of identifying hyperthyroid or thyrotoxicosis state in patients with heart failure since anti- thyroid therapy significantly lead to reversible heart failure syndrome and LV systolic dysfunction.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.