Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Love relationship satisfaction and related-factors of Chulalongkorn University students

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขภาพจิต

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.1418

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย: การมีความสัมพันธ์แบบคู่รักเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในพัฒนาการของมนุษย์สำหรับวัยผู้ใหญ่ตอนต้นตามทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคมของ Erikson ความสำเร็จในพัฒนาการลำดับขั้นนี้ จะนำไปสู่ความสามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีพันธะสัญญาต่อกัน แต่หากล้มเหลว ก็จะนำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างในใจ ซึ่งปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรักษาหรือยุติความสัมพันธ์ก็คือความพึงพอใจในความสัมพันธ์ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาในเรื่องนี้ โดยเลือกศึกษาในนิสิตที่มีอายุช่วง 21 – 22 ปี ซึ่งตรงกับช่วงเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้นตามทฤษฎีของ Erikson และมีการศึกษาว่ามักมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ โดยผลการศึกษาที่ได้ จะสะท้อนภาพรวมของนิสิตรวมถึงเป็นองค์ความรู้ใหม่แก่ผู้ที่สนใจศึกษาต่อยอดในอนาคตได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในความสัมพันธ์กับคู่รักและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความพึงพอใจในความสัมพันธ์กับคู่รัก ของนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวอย่างและวิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จาก 10 คณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีคู่รักและมีระยะเวลาคบหาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน คำนวณจำนวนตัวอย่างแบ่งตามเพศและกลุ่มสาขาวิชาที่นิสิตศึกษาอยู่ตามสัดส่วนประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล มาตรวัดองค์ประกอบความรัก และมาตรวัดความพึงพอใจในความสัมพันธ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 433 คน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในความสัมพันธ์ที่ 4.00 ± 0.57 (Likert scale 1 – 5) ส่วนใหญ่พึงพอใจอยู่ในระดับมาก 55.7% ระดับมากที่สุด 23.3% และระดับปานกลาง 20.5% จากการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ สถานภาพการพักอาศัย ระดับความพึงพอใจในชีวิต ระยะเวลาของความสัมพันธ์กับคู่รัก การเปิดเผยความสัมพันธ์ต่อเพื่อน และการเปิดเผยความสัมพันธ์ต่อครอบครัว จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่าสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในชีวิต คะแนนองค์ประกอบความรักด้านความใกล้ชิด ความหลงใหล และความผูกมัด จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ พบตัวแปรทำนายคือ คะแนนองค์ประกอบความรักด้านความใกล้ชิด ความผูกมัด ระดับความพึงพอใจในชีวิต และระยะเวลาของความสัมพันธ์กับคู่รัก สรุปผลการศึกษา: การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มากกว่า 75% มีความพึงพอใจในความสัมพันธ์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และมากกว่า 99% อยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป นอกจากนี้ ได้อธิบายถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อค้นพบนี้สามารถนำไปใช้อ้างอิง และศึกษาต่อเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและป้องกันปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: According to Erikson's stages of psychosocial development theory, having a love relationship is an important step in early adulthood development. Successful development will lead couples to live together with commitment while failure will lead one to feel isolated. Relationship satisfaction dictates the decision to maintain or terminate the relationship. Objectives: To study the levels of relationship satisfaction in couples and related factors. Materials and methodology: A cross-sectional descriptive study is done using samples from the 4th year undergraduate students in 10 faculties of Chulalongkorn University who have lovers and have had relationships for more than 1 month. Data is collected by questionnaires consisting of modified Sternberg’s TLS and modified Hendrick’s RAS questions, and answers are analyzed using descriptive and inferential statistics methods. Results: A total of 433 samples are taken. The results show an average satisfaction score of 4.00 ± 0.57 (Likert scale 1 - 5), the majority of 55.7% describe their relationships as ‘Very Satisfy’, 23.3% are ‘Highly Satisfy’ while 20.5% are ‘Moderately Satisfy’. Variance analysis (ANOVA) and t-test found that the relevant factors are the current place of dwelling, satisfaction level in life, duration of the relationship, disclosure of relationships to friends and family. They have correlations with satisfaction level in life and the three love components namely intimacy, passion and commitment. Multiple linear regression found that the important variables are the intimacy and commitment aspects of love components, satisfaction level in life, and duration of the relationship. Conclusions: Less than 1% of the samples describe their relationship satisfaction to be lower than ‘Moderately Satisfy’. The study also reveals the relevant factors. The result can be used as references and bases for further studies and to understand relationship problems in early adulthood.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.