Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The study of changes in the scope of construction supervision duties in government project

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

ไตรวัฒน์ วิรยศิริ

Faculty/College

Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Architecture (ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์)

Degree Name

สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สถาปัตยกรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.1397

Abstract

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561เป็นต้นมา ขอบเขตหน้าที่ของผู้ควบคุมงานก่อสร้างหน่วยงานของรัฐ เป็นไปตามพระราชบัญญัติและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ฉบับใหม่) ซึ่งมีการแก้ไขจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 (ฉบับเดิม) จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนค่าบริการวิชาชีพและรายละเอียดงานตามข้อกำหนดโครงการ (TOR: Terms of Reference) เพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงศึกษาขอบเขตหน้าที่ตามรายละเอียด TOR ตามระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 (เดิม) และระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2560 (ใหม่) มาศึกษาการเปรียบเทียบ เพื่อหาข้อสรุปของรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยคือ 1) ศึกษาข้อมูลและทบทวนทฤษฎีเกี่ยวกับระเบียบการจัดจ้างผู้ควบคุมงาน และขอบเขตหน้าที่ของผู้ควบคุมงาน 2) เปรียบเทียบข้อกำหนดโครงการ (TOR) จากกรณีศึกษา ระหว่างระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 จำนวน 5 โครงการ และ ระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2560 จำนวน 9 โครงการ 3) ประมวลผลและวิเคราะห์เพื่อสรุปผลการศึกษา จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า การระบุในข้อกำหนดโครงการ(TOR) ขอบเขตหน้าที่ของผู้ควบคุมงานเกินกว่าขอบเขตจากที่ระเบียบฯ(เดิม)กำหนด และพบว่าขอบเขตหน้าที่ของผู้ควบคุมงานตามข้อกำหนดโครงการ (TOR) ในระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2560 มีขอบเขตงานที่เพิ่มเติมจาก ระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุ ปีพ.ศ.2535 (เดิม) คือ 1) เพิ่มเติมด้านบุคลากร 2) ข้อกำหนดการปฏิบัติงาน และเครื่องมือการบริหารงาน และ 3) ผู้ควบคุมงานเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย เรื่อง ค่าซอฟต์แวร์ ค่าเช่าสำนักงานสนาม พร้อมอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ค่าใช้จ่ายเอกสารที่เกี่ยวข้องในกระหว่างการควบคุมงานก่อสร้าง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าในการปรับเปลี่ยนค่าบริการวิชาชีพให้มีอัตราค่าบริการวิชาชีพเพิ่มสูงขึ้นตามพรบ. ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการบริหารโครงการ ในเรื่องจำนวนและความชำนาญของบุคลากร ทั้งนี้กรณีศึกษาตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2560 บางโครงการเริ่มใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) เข้ามาเป็นเครื่องมือในการบริหารโครงการ เพื่อลดข้อผิดพลาดปัญหาข้อผิดในการก่อสร้าง จากผลวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ความซับซ้อนของโครงการมีผลต่อการระบุรายละเอียดขอบเขตงานใน TOR ดังนั้นโครงการหน่วยงานของรัฐ ควรมีมาตรฐานในการเขียนข้อกำหนด TOR เพื่อคัดเลือกผู้ควบคุมงานและรายละเอียดของเขตหน้าที่ ตามความซับซ้อนของโครงการ อย่างมีมาตรฐานเพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมงาน และประโยชน์สูงสุดของรัฐ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Since 2018, scope of work for construction supervisor when dealing with public sector building is based on Government Procurement and Supplies Management Act B.E 2560 (2017) which has been adjusted from Regulations of the Office of the Prime Minister on Procurement B.E.2535 (1992). The change in regulations led to a shift in professional service fees and details of work according to TOR (Terms of References). Taken interested in the changes, this research aims to conduct a comparative study between the previous TOR in 2003 and the new TOR in 2017 in order to conclude all the changes within scope of work. Research methodologies include 1) a study and literature review related to regulations for hiring construction supervisors and scope of their works 2) a comparative study between TORs in the case study, including five buildings under the regulation on procurement in 1992 and nine buildings under regulation on procurement in 2017, 3) results and analytical data. By comparing the two regulations, the research found that there's a clause, stating about how scope of work for construction supervisors might exceed from the regulation on procurement and scope of work for construction supervisors in 2017 has more roles added in the regulations compared with that of 1992. The additional roles include 1) information for personnel, 2) regulation in executing the projects and managing tools, and 3) additional costs for construction supervisors, such as software fees, rental fees of the temporary sites, equipment fees, and fees for printed documents regarding building certification during process of handling the buildings. The result pointed out that by increasing professional service fees up to what's written in the newly-issued law, the development of project management and construction processes have been more delicate and corresponded to the number of personnel that were qualified in terms of their working experiences according to TOR in each project. Moreover, the larger project building which used 2017's TOR began to utilize Building Information Modeling, or BIM as a mean to manage the projects and reduce unexpected mistakes thanks to the fact that BIM simulated all of the construction processes before the real work began. Therefore, the increase in professional service fees will affect the management of the construction process in the foreseeable future. The supervisors should introduce appropriate tools to help processes of managing projects become more precise and effect, thus reducing errors in construction processes.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.