Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Lifestyle fashion brand identity for masstige by using cultural capital of Thai Song Dam, Phetchaburi province
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง
Faculty/College
Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)
Degree Name
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
ศิลปกรรมศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1338
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นสำหรับกลุ่มแมสทีจ โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชนไทยทรงดำ จังหวัดเพชรบุรี มีการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งมีการสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแมสทีจด้วยแบบสอบถามจำนวน 400 ราย โดยวิธีการสุ่มเลือก ใช้เครื่องมือภาพที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวัฒนธรรมไทยทรงดำในด้านความเชื่อเรื่องผี รวมถึงอิทธิพลของความเชื่อที่มีต่อวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายและลวดลายผ้า นำมาตีความอย่างเป็นรูปธรรมโดยใช้ทฤษฎี Image Scale ของชิเกโนบุ โคบายาชิ (Shigenobu Kobayashi) เพื่อให้เกิดการตีความจากสีของลวดลายผ้าสู่บุคลิกภาพและคำสำคัญ (Keyword) จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาเชื่อมโยงกับทฤษฎีอัตลักษณ์ตราสินค้าของ Jean-Noel Kapferer เพื่อสร้างแนวทางที่จะใช้ในการสร้างสรรค์การสื่อสารอัตลักษณ์ตราสินค้าและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเครื่องมือภาพ ผลการสำรวจพบว่า อัตลักษณ์ตราสินค้าจากวัฒนธรรมไทยทรงดำโดยมีความเชื่อเรื่องผีที่กลุ่มเป้าหมายแมสทีจสนใจ เป็นตราสินค้าที่นำเสนอความงามที่ได้รับการออกแบบโดยเน้นเอกลักษณ์เฉพาะของวัตถุดิบซึ่งผ่านการปรุงแต่งน้อย แต่ให้ความรู้สึกถ่อมตน เป็นธรรมชาติ และบริสุทธิ์ ภายใต้บุคลิกภาพแบบเป็นธรรมชาติและเป็นผู้ดี (Natural Elegant) นำเสนอสินค้าแฟชั่นที่มีรูปแบบเรียบง่าย มีรายละเอียดในตัว สีสันสบายตา ในรูปแบบทันสมัยและเป็นธรรมชาติ (Modern Natural) แต่ต้องยังส่งเสริมบุคลิกภาพที่มีความโดดเด่นและเป็นที่อิสระ น่าจดจำ (Outstanding and Independent) ดังปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ของงานวิจัยฉบับนี้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this study was to create a brand identity for fashion lifestyle masstige goods using cultural capital of a Thai ethnic group called Thai Song Dam of Phetchaburi province. The method of the study was through a survey of 400 randomly selected participants. Cultural study of Thai Song Dam provided insights to construct a visual tool to portray their supernatural belief and its influence on apparels and fabric pattern designs. The visual tool was created from the interpretation of Shigenobu Kobayashis Image Scale theory to classify the colors, fabric patterns, personality, and keywords. The information was then analyzed and associated with Brand Identity Prism by Jean-Noel Kapferer to establish guidelines in communicating brand identity and create a type of product to form the visuals. As a result, the brand identity from Thai Song Dam culture of the supernatural was attractive, and suitable for the masstige target market. It offered a beauty that is designed with the uniqueness of its material that was not heavily embellished. It provided feelings of humbleness, nature, and pureness. While on the surface, it delivered a natural elegance, and presented minimalistic, yet simultaneously detailed fashion products. The colors were easy on the eye, modern natural, but still promoted being outstanding and independent as were shown in the result of this study.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เฉยพ่วง, เตชิต, "อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มแมสทีจโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชนไทยทรงดำ จังหวัดเพชรบุรี" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3469.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3469