Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Assessment of greenhouse gases emission of Ayutthaya Municipality, Ayutthaya province
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1167
Abstract
ปัจจุบันการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้น บรรยากาศ สาเหตุสำคัญของปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ภาคส่วนเมืองจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศึกษารูปแบบและแหล่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนเสนอแนะแนวทางเลือกสำหรับลดปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับเมืองของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ผลการศึกษาพบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน เขตพื้นที่เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2561 รวมจากทุกกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 99,137.49 tCO₂-eq หรือพิจารณา เทียบต่อหัวประชากรเท่ากับ 1.93 tCO₂-eq/capita ภาคส่วนพลังงานเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด (48,216.45 tCO₂- eq หรือร้อยละ 49) เมื่อเทียบกับภาคส่วนการจัดการของเสีย (35,659.45 tCO₂-eq หรือร้อยละ 36) ภาคขนส่ง (11,191.75 tCO₂- eq tCO₂-eq หรือร้อยละ 11) และภาคเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน(4,069.75 tCO₂-eq หรือร้อยละ 4) ตามลำดับ โดย กิจกรรมการใช้พลังงานในที่พักอาศัยปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกิจกรรมอื่น ๆ (37,672.89 tCO₂-eq) จากผลการคาดการณ์แนวโน้มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาในกรณีฐานที่ยังไม่มีการ ดำเนินการใด (Business as usual, BAU) ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - 2573 พบว่าในปี พ.ศ. 2573 เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยามี แนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 161,123.67 tCO₂-eq (กรณีคาดการณ์จากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจพิจารณา จากทุกกิจกรรมของจังหวัดซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.13) และ 113,316.63 tCO₂-eq (กรณีคาดการณ์จากอัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจพิจารณาเฉพาะกิจกรรมที่ปรากฏในเทศบาลนครซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12) ตามลำดับ ผลการจำลองสถานการณ์เพื่อ คาดการณ์ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานในที่พักอาศัยของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาพิจารณาจากมาตรการ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ระบุไว้ในแผนที่นาทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ปี พ.ศ.2564 - พ.ศ.2573 พบว่าหาก เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยานามาตรการต่าง ๆ ได้แก่ การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง การใช้เครื่องทำความเย็นประสิทธิภาพ สูง การใช้เครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง การใช้เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึง ประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เทศบาล จะส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกระดับเมืองลดลงได้ภายในปี พ.ศ. 2573 เท่ากับ 9,735.47 tCO₂-eq และ 6,846.86 tCO₂-eq สำหรับการคาดการณ์ จากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 4.13 และ 1.12 ตามลำดับ และหากพิจารณาเฉพาะการประยุกต์ใช้มาตรการที่ เป็นไปได้สำหรับเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ การใช้หลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง การใช้เครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง และการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงจะส่งผลให้ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้รวมเท่ากับ 1,996.92 tCO₂-eq ภายในปี พ.ศ. 2573 (กรณีอัตราการเพิ่มขึ้นเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 1.12)
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Rapid urbanization is considered as one of the most important contribution to both anthropogenic greenhouse gases (GHGs) emissions and also the impacts of climatic change. Cities, consequently, play a crucial role in minimizing GHGs emissions and also setting their own reduction targets at the same time. The aims of this research were to (i) quantify the amount of GHGs emissions, (ii) investigate the patterns of GHGs emissions from all related sources, and (iii) explore the potential mitigation options to reduce GHGs emissions in Ayutthaya Municipality, Thailand. Results revealed that, in 2018, the total GHGs emissions of Ayutthaya Municipality was approximately 99,137.49 tCO₂-eq (1.93 tCO₂-eq/capita). Energy sector was by far the biggest contributor to the total emissions (49%, 48,216.45 tCO₂-eq) compared to waste sector (36%, 35,659.45 tCO₂- eq), transportation (11%, 11,191.75 tCO₂-eq tCO₂-eq), and AFOLU (4%, 4,069.75 tCO₂-eq), respectively. More specifically, the residential sector accounted for the largest proportion of both energy consumption and GHGs emissions (37,672.89 tCO₂-eq). Based on the business as usual (BAU) scenario, the total GHGs emissions of Ayutthaya Municipality would increase from 99,137.49 tCO₂-eq in 2018 to 161,123.67 tCO₂-eq and 113,316.63 tCO₂-eq in 2030 in case of the annual economic growth rate of 4.13% and 1.12% is forecasted (where all provincial and municipal economic activities are considered, respectively). Under the alternative mitigation scenarios, if all policy interventions as indicated in the Thailand’s Nationally Determined Contribution (NDC) Roadmap on Mitigation (2021-2030) are fully implemented in the residential sector (i.e. improving residential energy efficiency by installing LED light, providing more efficient cooling and heating systems, using energyefficient appliances, as well as applying renewable energy, particular solar power, in the residential building), the total GHGs would be reduced approximated to 9,735.47 tCO₂-eq. and 6,846.86 tCO₂-eq as the annual economic growth rate of 4.13% and 1.12% by 2030, respectively. By considering only feasible mitigation options (i.e. installing more efficient lighting, air conditioner, and energy-efficient appliances in the residential sector), the potential GHGs reduction in 2030 are estimated to be 1,996.92 tCO₂-eq (as 1.12% of the annual economic growth rate).
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เย็นสุขโข, ปภาดา, "การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3298.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3298