Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Academic Management Strategies Of Vocational Institute Based On The Concept Of Students’ Digital Literacy Development

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา

Second Advisor

เพ็ญวรา ชูประวัติ

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

บริหารการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.915

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา และแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 203 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็น หรือ ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประกอบไปด้วย 4 ประเด็น ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) กิจกรรมเสริมหลักสูตร (4) การวัดและประเมินผล และแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา ประกอบไปด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การพัฒนาการรู้ใช้ (2) การพัฒนาการรู้เข้าใจ (3) การพัฒนาการรู้สร้างสรรค์ 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.614 และ SD = 0.836) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.606 และ SD = 0.554) 3. กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่การพัฒนาการรู้ดิจิทัล กลยุทธ์รอง 1.1) กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการรู้สร้างสรรค์ดิจิทัล 1.2) กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการรู้เข้าใจดิจิทัล และ 8 วิธีดำเนินการ 2) ยกระดับการเรียนการสอน การฝึกงาน และกิจกรรมเสริมหลักสูตรสู่การเพิ่มสมรรถนะด้านการรู้เข้าใจ และรู้สร้างสรรค์ดิจิทัล กลยุทธ์รอง 2.1) จัดหาและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการรู้สร้างสรรค์ดิจิทัลของนักเรียน นักศึกษา 2.2) สร้างเครือข่ายความร่วมมือจากผู้ประกอบการในชุมชนเพื่อยกระดับกิจกรรมเสริมหลักสูตรสู่การพัฒนาสมรรถนะในการรู้เข้าใจ และการรู้สร้างสรรค์ดิจิทัลของนักเรียน นักศึกษา และ 8 วิธีดำเนินการ 3) ปรับกระบวนการการวัดและประเมินผลเพื่อเสริมสร้างการรู้ใช้ การรู้เข้าใจ และการรู้สร้างสรรค์ดิจิทัล กลยุทธ์รอง 3.1) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทันสมัยในการวัดและประเมินผลด้านการรู้เข้าใจดิจิทัลของนักเรียน นักศึกษา 3.2) สร้างเครือข่ายการวัดและประเมินผลระหว่างสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงมาตรฐานด้านการรู้สร้างสรรค์ดิจิทัลของนักเรียน นักศึกษา 3.3) ยกระดับการวัดและประเมินผลด้านการรู้ใช้ดิจิทัลเพื่อการพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการในชุมชน และ 9 วิธีดำเนินการ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The research objectives were 1) To study the framework of academic management of vocational institutes and the concept of digital literacy development of vocational students 2) To study the current and the desirable states of academic management of vocational institute based on the concept of students’ digital literacy development 3) To develop academic management strategies of vocational institutes based on the concept of students’ digital literacy development. The research applied a multiphase mixed method research through quantitative data collection and qualitative date collection. The samples of the study were 203 vocational institutes under the Office of Vocational Education Commission. The research instruments were conceoptual framework evaluation form, questionnaires and strategic evaluation form to testify feasibility and appropriateness of the strategies. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation PNIModified and content analysis. The results were as follows: 1) The framework of academic management of vocational institutes consisted of 4 areas which were (1) Curriculum (2) Teaching and Learning (3) Extra-Curricular activities (4) Measurement and Evaluation process. The concept of digital literacy development of vocational students consisted of 3 areas which were (1) Usability of digital literacy development (2) Understanding of digital literacy development (3) Creativity of digital literacy development 2) The current state as a whole was at the high level ( x = 3.614 and SD = 0.836) while the desirable state as a whole was at the highest level ( x = 4.606 and SD = 0.554); 3) The Academic Management Strategies consisted of 3 main strategies: (1) Developing Vocational School Curriculum to develop digital literacy, sub strategies were 1.1) Setting the purpose of Vocational School Curriculum for usability of technology and innovation for Creativity of digital literacy development 1.2) Setting the purpose of Vocational School Curriculum for usability of technology and innovation for Understanding digital literacy development with 8 procedures (2) Elevating Teaching and Learning, Internship and Extra-Curricular activities to increase Understanding and Creativity of digital literacy competency, sub strategies were 2.1) Designating and developing techonology for facilitating Teaching and Learning for increasing Creativity of digital literacy competency 2.2) Creating the local entrepreneur network for escalating Extra-Curricular activities for Understanding of digital literacy competency and Creativity of digital literacy competency with 8 procedures (3) Reconstructing Measurement and Evaluation process to enhance Usability, Understanding and Creativity of digital literacy, sub strategies were 3.1) Applying technology and innovation for Measurement and Evaluation of Understanding digital literacy 3.2) Creating the Measurement and Evaluation process between vocational schools’ network for improving the Creativity of digital literacy standards. 3.3) Enhancing the Measurement and Evaluation of Usability of digital literacy for developing innovation associate with the local entrepreneur needs with 9 procedures.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.