Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Self-identity perception and influence strategies of top female leaders in thai organizations

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

ปภัสสรา ชัยวงศ์

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิเทศศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.846

Abstract

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) การรับรู้และการพัฒนาอัตลักษณ์ของตนเอง 2) การจัดการเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ที่ตนรับรู้และพัฒนาอัตลักษณ์ และ 3) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับของผู้บริหารหญิงในองค์กรไทย ใช้แนวทางวิจัยแบบย้อนหาร่องรอย (retrospective approach) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กับผู้บริหารหญิงระดับสูงในองค์กรไทยประเภทการเงินและไม่ใช่การเงิน จากภาครัฐและเอกชน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 26 ท่าน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เคย/มีประสบการณ์ร่วมงานกับผู้บริหารหญิงเพื่อตรวจสอบความตรง (validity) ด้วย สุ่มตัวอย่างจากความสมัครใจ (volunteer sampling) จำนวน 16 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ของผู้บริหารหญิงในองค์กรไทย ประกอบด้วย อัตลักษณ์ขั้นพื้นฐานซึ่งเกิดขึ้นและมีอยู่กับตัวผู้บริหารหญิงตั้งแต่เด็กเรื่อยมา และอัตลักษณ์ที่พัฒนาขึ้นภายหลัง ซึ่งพัฒนาขึ้นในช่วงเข้าสู่บทบาทบริหารระดับกลางขึ้นไป นอกจากนี้ ในช่วงต้นของการทำงานและเป็นผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารหญิงใช้อัตลักษณ์ที่แสดงถึงการมีมนุษยสัมพันธ์และการทุ่มเททำงานหนักเพื่อสร้างให้เกิดการยอมรับ และเมื่อเข้าสู่การเป็นผู้บริหารระดับกลางจนถึงระดับสูง การเป็นผู้นำที่เปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งต้องอาศัยการแสดงตัวตนที่มีความกล้าหาญ เข้มแข็งเพื่อสร้างการยอมรับ ทั้งนี้การพัฒนาอัตลักษณ์ของผู้บริหารหญิงมาจากปัจจัยภายใน อาทิ ความคิด และการทบทวนตนเอง ประกอบกับปัจจัยภายนอก อาทิ การขัดเกลาจากครอบครัว และการศึกษา ในส่วนของการจัดการเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์ ผู้บริหารหญิงจะพิจารณาเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ตามลำดับ 1) การรับรู้ความเป็นตนเอง 2) ความสัมพันธ์ของคู่สื่อสาร 3) ความต้องการและเป้าหมายของการสื่อสาร 4) สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง และ 5) ลักษณะองค์กรและวัฒนธรรม สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับ ในช่วงเริ่มต้นทำงานถึงการเป็นผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารหญิงใช้กลยุทธ์การสื่อสาร เช่น การใช้เหตุผล และการกล่าวถึงคุณธรรม เพื่อสร้างการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานเป็นหลัก ในขณะที่เมื่อก้าวสู่ตำแหน่งบริหารระดับกลางจนถึงระดับสูง ผู้บริหารหญิงใช้กลยุทธ์การสื่อสาร เช่น การกล่าวถึงประโยชน์ส่วนรวม และการเป็นผู้เปิดกว้างรับฟัง เพื่อนำไปสู่การสร้างการยอมรับในองค์กรไทย เป็นหลัก อย่างไรก็ตามการรับรู้อัตลักษณ์ และกลยุทธ์การสื่อสารที่มาจากมุมมองผู้บริหารหญิงดังกล่าวมักเป็นลักษณะเชิงบวก ในขณะที่การรับรู้ที่มาจากผู้มีประสบการณ์ร่วมงานมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ โดยมุมมองในเชิงลบเป็นมุมมองที่เกี่ยวข้องกับอคติที่มีต่อความเป็นเพศหญิง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This qualitative research was purposed to examine 1) perception and development of self-identity, 2) identity management, and 3) communication strategies of top female leaders in Thai organizations. In-depth interviews, using retrospective approach and purposive sampling, with 26 top female leaders in Thai organizations, financial and non-financial business/ public and private organizations were employed. Also, in-depth interviews with 16 volunteer subjects who had been working with top female leaders in Thai organizations were conducted for validity check. The study revealed two domains of identities: fundamental and additional, were perceived by the top female-leader subjects. 'Fundamental identities' refer to identities that have been existed and developed since the beginning stage of their life, and 'additional identities' refer to identities that have been formed by experiences since the beginning of their professions. To gain acceptance when they were in the first-line level, the female leaders expressed their identities related to relationship and hard-working; whereas in higher level, the identities related to courageous were required in response to their tasks and challenging situations. In terms of the identity development, internal factors, i.e. their reflexive thoughts and attitudes toward life development and courageous characters, and external factors, i.e. socialization from family and educational institution, shaped the female leaders' sense of self-identity. As for their identity management, the following factors affected their identity expression respectively: 1) self-perception, 2) type of relationship, 3) needs and goals of interaction, 4) relating situations and 5) organizational norms and Thai culture. In terms of influence strategies, when the female leaders were in first-line level, basic strategies i.e. reasonable explaining, and moral explaining, were applied to gain acceptance from their colleagues; whereas, when being promoted to higher authorities, strategies such as sharing the common interests, and openness, were required. However, the findings showed that female leader subjects perceived themselves positively; whereas, those who had ever been working with female leaders perceived their identities and influence strategies in positive and negative ways. Interestingly, the negative point is related to gender bias.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.