Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Guildeline to develop coworking space near educational institution : case study of Naplab, Nexdots, Too Fast to Sleep and Too Fast to Sleep.SCB
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Faculty/College
Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Housing (ภาควิชาเคหการ)
Degree Name
เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.672
Abstract
ปัจจุบัน Coworking Space ในกรุงเทพได้เติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะตามแหล่งใจกลางย่านธุรกิจของเมือง เนื่องจากมีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน และการเดินทางเข้าถึงได้สะดวก โดยเฉพาะบริเวณย่านสยามสแควร์และสามย่านมี Coworking Space เปิดให้บริการมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งเมื่อพิจารณาพื้นที่บริเวณนี้พบว่ามีสถาบันการศึกษาที่สำคัญๆตั้งอยู่ใกล้เคียงหลายแห่ง โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาแนวคิดและข้อจำกัดในการดำเนินงาน Coworking Space บริเวณใกล้เคียงสถาบันการศึกษา รวมทั้งรูปแบบและการให้บริการที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ Coworking Space ของผู้มาใช้บริการ ซึ่งใช้การเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ การสำรวจ และแจกแบบสอบถามผู้มาใช้บริการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อนำมาซึ่งความเข้าใจในการจัดการพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับผู้เข้ามาใช้บริการ รวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ จากการศึกษาพบว่าผู้มาใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุประมาณ 19-28 ปี ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ซึ่งความถี่ในการเข้าใช้บริการจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 ครั้งต่อเดือน เข้าใช้บริการประมาณ 3-4 ชม.ต่อครั้ง โดยช่วงเวลาที่มีผู้เข้าใช้บริการมากที่สุดคือ 18.01น. - 21.00น. และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งจะตกอยู่ที่ครั้งละ 100 - 200 บาท จุดประสงค์ที่มาใช้งานเนื่องมาจากต้องการพื้นที่ทำงานมากที่สุด ส่วนสาเหตุที่เลือกใช้บริการเพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทำงานครบครัน โดยผู้มาใช้บริการให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ เช่น การตกแต่งภายใน บรรยากาศผ่อนคลายไม่เครียด มากที่สุด ส่วนแนวความคิดที่มาของการทำ Coworking Space ของกรณีศึกษาเกิดจากการเห็นปัญหาความไม่สะดวกของนิสิตนักศึกษาที่ไปนั่งทำงานอ่านหนังสือตามร้านกาแฟหรือห้องสมุด จึงอยากช่วยสนับสนุนนิสิตนักเรียนนักศึกษาได้มีพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับทำงานหรืออ่านหนังสือได้ตลอด 24 ชม. โดยปัญหาที่พบคือในช่วงปิดเทอมรายได้อาจลดลง เนื่องจากนักศึกษาจะกลับบ้านกัน จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนเพื่อปล่อยเช่าเป็น Service Office รายเดือน หรือ จัดประชุม สัมมนาได้ โดยปัจจุบันแนวโน้มและการเติบโตของธุรกิจนี้ยังเติบโตได้อีก เพราะยังมีตลาดของคนที่ต้องการใช้งานพื้นที่ลักษณะนี้มากขึ้น ผู้ประกอบการรายย่อยต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่มากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจนี้คือ ทำเลที่ตั้งต้องอยู่ในที่ที่มีการคมนาคมสะดวกอยู่ใกล้กลุ่มเป้าหมาย และมีการสร้างจุดขายที่มีความน่าสนใจ เพื่อดึงดูดให้คนมาใช้งาน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
At present, Bangkok, especially in its business areas, has witnessed the rapid growth of coworking spaces, which are often easily accessible by Sky train or MRT. In the Siam Square and Samyan areas, several types of coworking space are available. One reason for this is that there are a number of educational institutions in the area. The main objectives of this study are to explore the concepts and management limitations of coworking spaces located near educational institutions and to investigate the designs and services that can best attract clients. Interviews, surveys and questionnaires were used to collect the data and relevant theories were applied for data analysis. The findings will shed light on the area management and arrangement of facilities that best meet the clients' needs. Such findings will also benefit others interested in establishing new coworking spaces. The findings reveal that most clients were female aged between 19 and 28 years old, students at Chulalongkorn University, and earning less than 10,000 baht a month. They visited their coworking space once or twice a month, spending 3 – 4 hours per visit. Most of the clients came to the coworking space between 18:00 p.m. and 21:00 p.m. and paid 100 – 200 baht per visit on average. Their main purpose was to find a place to work or study and they chose to come that particular coworking space because it provided all of the facilities they needed. The design of coworking space attracted the clients most as they paid special attention to the interior design and the relaxing atmosphere. The owner of the coworking space in the study mentioned that the underlying reason for its establishment was that it is not convenient for students to work or study in coffee shops or libraries. This coworking space allows students a place to work 24 hours a day. The owner's main issue with the business is that the number of students tends to decrease during the semester breaks. As the coworking space is not in high demand during that time, some of the space is offered as monthly office space or as a venue for meetings and seminars. In general, the future prospects for coworking businesses remain positive; however, small entrepreneurs will have to devise new marketing strategies to compete with the larger players. The keys for success will be location, convenient access and unique offerings.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พืชธัญญากิจ, วีรพล, "แนวทางการพัฒนา COWORKING SPACE บริเวณสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา โครงการแนปแลป, โครงการเน็กซ์ดอทส์, โครงการทูฟาสทูสลีพ และ โครงการทูฟาสทูสลีพดอทเอสซีบี" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 2803.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/2803