Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
องค์กรกลางกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Pollwatch Commission and the general election
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
จรูญ สุภาพ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การปกครอง
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1236
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงอำนาจและหน้าที่ขององค์กรกลาง และบทบาทของคณะกรรมการฯ อนุกรรมการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ขององค์กรกลางในการเลือกตั้ง และผลที่ได้รับจากการจัดตั้งองค์กรกลางว่าสามารถส่งเสริมให้ประชาชนและผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง เข้ามีส่วนร่วมในการเลือกตั้งในรูปแบบที่ถูกต้องได้หรือไม่ และสามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตในการเลือกตั้งได้หรือไม่ รวมทั้งวิเคราะห์หารูปแบบขององค์กรกลาง ตลอดจนอำนาจและหน้าที่ที่เหมาะสมในการกำหนดนโยบายวิธีการ มาตรการการดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งและควบคุมการเลือกตั้ง รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการเลือกตั้งด้วยความสำนึกทางการเมืองอย่างแท้จริง โดยอาศัยวิธีการศึกษาวิจัยเอกสาร ควบคู่กับการวิจัยแบบสำรวจโดยการสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม โดยกำหนดขอบเขตของการวิจัยสำรวจในส่วนของพื้นที่จังหวัดชลบุรี ในการวิจัยได้ตั้งข้อสมมติฐานของการศึกษาพบว่า องค์กรกลางมีส่วนทำให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้น และทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น ผลการวิจัยพบว่า การทำงานขององค์กรกลางในภาพรวมนั้น ประสพผลสำเร็จในเบื้องต้นในแง่ของการป้องปรามการกระทำทุจริตในการเลือกตั้ง และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนรวมทั้งทำให้ประชาชนได้รู้ข่าวสารการเลือกตั้งและออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากขึ้น แต่ทั้งนี้องค์กรกลางมีผลงานบางส่วนที่ไม่ประสบผลสำเร็จ คือการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดตามที่ได้รับแจ้งเหตุมา ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาและข้อจำกัดขององค์กรกลาง และข้อจำกัดจากการที่องค์กรกลางต้องพึ่งพาหน่วยงานอื่นเพื่อดำเนินคดีความตามกฎหมาย รวมถึงปัญหาบุคลากรขององค์กรกลางที่อาจมีบางส่วนวางตัวไม่เป็นกลาง ขาดประสบการณ์ เกรงกลัวอิทธิพล โดยสรุป พบว่า องค์กรกลางมีส่วนทำให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้น และองค์กรกลางมีส่วนสำคัญในการทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of the study is confined to the appraisal of the existing functions, authority and achievements of the Pollwatch Commission. As a case study, the designated body of the Pollwatch Commission empowered to have supervisory jurisdiction over the province of Cholburi has been selected to be analytically examined. According to the findings, the Pollwatch Commission has generally been reasonably successful in deterring certain irregularities in the elections. Also, regarding information dissemination, political socialization and participation activation and mobilization, the Pollwatch Commission has somewhat attained a certain degree of achievement. Its efforts render to some extent, democratic benefits of the public in general. A member of drawback, namely, its inability to engage in law enforcement against some reported cases of offenses, its inexperienced personnel and its being exposed to occasional intimidation and threats have yet to be rectified. However, on account of its potential merits, the Pollwatch Commission would essentially be still valuable in bringing about the meaningful, legitimate and democratic elections.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พัวเวส, วุฒิ, "องค์กรกลางกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 27969.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/27969