Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
THE CHURNING PROCESS AND PROBLEM OF THE PATIENT WARD AND THE OPERATING ROOMS: A CASE STUDY OF BHUMISIRI MANGKHALANUSORN BUILDING, KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
เสริชย์ โชติพานิช
Faculty/College
Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Architecture (ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์)
Degree Name
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สถาปัตยกรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1497
Abstract
จากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ส่งผลให้มีการปรับปรุงและพัฒนาโรงพยาบาลในประเทศไทยให้มีความทันสมัยได้มาตรฐานในระดับสากล เช่นเดียวกันกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หนึ่งในโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศที่ได้สร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ขึ้นเพื่อตอบสนองการให้บริการ โดยอาคารดังกล่าวมีการย้ายเข้าของหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดจากนอกอาคารเข้าสู่ภายในอาคาร นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงอาคารระหว่างการใช้งานส่งผลให้มีการโยกย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดไปสู่พื้นที่ชั่วคราวขณะทำการปรับปรุง จึงได้ทำการศึกษาขั้นตอน และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกรณีย้ายหอผู้ป่วยภายในอาคาร กลุ่มกรณีย้ายหอผู้ป่วยจากภายนอกอาคาร กรณีย้ายห้องผ่าตัดภายในอาคาร กรณีย้ายห้องผ่าตัดจากภายนอกอาคาร โดยการสังเกต บันทึกข้อมูลในเหตุการณ์ และสอบถามผู้เกี่ยวข้องกับการย้ายหอผู้ป่วย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า เมื่อวิเคราะห์ตามกิจกรรมที่ปฏิบัติสามารถแบ่งขั้นตอนการย้ายหอผู้ป่วยได้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการย้ายของ ขั้นตอนการเตรียมผู้ป่วย ขั้นตอนการย้ายผู้ป่วย และขั้นตอนการตรวจสอบและส่งคืนพื้นที่ ในขณะที่การย้ายห้องผ่าตัดมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการย้ายของ และขั้นตอนการตรวจสอบและส่งคืนพื้นที่ แต่การย้ายห้องคลอด และห้องผ่าตัดคลอดมีการปฏิบัติ 5 ขั้นตอนเช่นเดียวกับการย้ายหอผู้ป่วย ทั้งนี้แต่ละกิจกรรมในขั้นตอนจะมีทั้งกิจกรรมที่ปฏิบัติเช่นเดียวกัน และกิจกรรมที่ปฏิบัติต่างกัน รวมถึงการเตรียมเครื่องมือในการย้ายของ และย้ายผู้ป่วยก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์จากช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการย้ายหอผู้ป่วยคือ ช่วงเช้า และเมื่อวิเคราะห์จากระยะเวลาการย้ายของ พบว่าห้องคลอดและผ่าตัดคลอดจะใช้เวลามากกว่าหน่วยงานอื่น ๆ ส่วนการย้ายหอผู้ป่วยวิกฤตจากภายนอกอาคารจะใช้เวลามากกว่าการย้ายหอผู้ป่วยอื่น ๆ นอกจากนี้ในการศึกษาปัญหาที่พบในขั้นตอนการย้ายของ และขั้นตอนการย้ายผู้ป่วย พบว่ามีปัญหาทั้งหมด 7 ลักษณะ ได้แก่ การขนย้ายล่าช้า การขนย้ายหยุดชะงัก ของเสียหาย ผู้ใช้อาคารไม่สะดวก ปิดงานไม่ได้ หน่วยงานเปิดให้บริการได้ไม่สมบูรณ์ และเกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วย เป็นผลมาจาก 7 สาเหตุ ได้แก่ การจัดการ การประสานงาน การควบคุมงาน การวางแผน อุบัติเหตุ คุณภาพบุคคลากร ลักษณะทางกายภาพอาคาร และอาการผู้ป่วย จากการศึกษาและวิเคราะห์ผล สรุปได้ว่าการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดมีขั้นตอนในการย้ายที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อมีการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการวางแผนการย้าย และการเตรียมเครื่องมือ ได้แก่ ประเภทหน่วยงานตามลักษณะการให้บริการลักษณะการย้ายแบ่งตามในอาคารและนอกอาคาร อาการผู้ป่วย พื้นที่ต้นทางเนื่องจากเส้นทางในการย้าย ความพร้อมของพื้นที่ จำนวนบุคคลากร จำนวนรถพยาบาล ความพร้อมของผู้ป่วย จำนวนเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการย้ายผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยหนัก จำนวนลิฟท์ จำนวนหน่วยงานที่ย้ายในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพการบริหารงานเป็นสาเหตุ ซึ่งหากมีการบริหารงานที่ดีจะสามารถลดโอกาสเกิดปัญหาในการดำเนินงานได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
From development strategy of Thailand, Thailand need to be Medical Hub, resulting make this nation improvement and development about hospital to be international standard. As one of the leading hospitals in the country, Chulalongkorn Memorial Hospital has built the Bhumisiri Mangkhalanusorn building to serve their customers and need to move wards and operating rooms. Moreover, this building is also improvement during use that make patient need to relocation and move operation room to temporary area. This sturdy has point about process and problem about 4 group of case studies , namely the patient ward moved to another area in the same building, the patient ward moved to another building, the operating room moved to another area in the same building, and the operating room moved to another building. Then, the data will be analysing, summarise, and discuss about the results. From study, the step of moving ward consists with 5 steps: including planning, equipment moving, patient moving preparation, patient moving ,and check and transfer. The step of moving operating room consists with 3 steps: including planning, equipment moving ,and check and transfer, except delivery room that similar to wards. Each activities in each steps are both similar and different depend on many factors. From time period analysis shown the best period for moving process is in the morning. Moreover, the research found the delivery room take the longest to move, and the crisis ward the moved from another building take the longer to move than the other wards. Besides, this study found there are 7 problems about moving ward and operation room. Including, moving delayed, moving process has disrupted, equipment have damaged, costumers cant use building, cant end this job, new areas are not open to use, and risky for patients. Summarise from sturdy, the churning of ward and operating room, including equipment reparation, are different because of factors ,namely type of agency service, moving inside building and outside building, patients symptom, moving path from former areas, preparedness of areas, number of officers, number of ambulances, preparation of patients, number of medical tools, number of intensive patients, number of elevators and number of units moving in the same period. Besides, management is the causes of most problems ,so the effective management is able to decrease in problems.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โกศล, ชญานิน, "กระบวนการ และปัญหาในการย้ายหอผู้ป่วย และห้องผ่าตัด : กรณีศึกษาอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1987.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1987