Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A comparison of student’s spatial solving effectiveness between different spatial strategy training

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

อริศรา เจียมสงวนวงศ์

Faculty/College

Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Industrial Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมอุตสาหการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1449

Abstract

ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นความสามารถในการรับรู้ และจัดการการรับรู้ภายในใจได้อย่างแม่นยำ ซึ่งนักวิจัยหลายท่านให้ความสนใจในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการสอนเพื่อช่วยในการพัฒนาแต่ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ให้ความสนใจกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียน ดังนั้นวัตถุประสงค์ของวิจัยนี้คือ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียนที่มีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ที่แตกต่างกันผ่านรูปแบบการอบรมตามกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา โดยเริ่มจากการค้นหากลยุทธ์ในการแก้ปัญหาของผู้เรียน (กลยุทธ์การแก้ปัญหาแบบองค์รวม กลยุทธ์การแก้ปัญหาแบบวิเคราะห์ และกลยุทธ์การแก้ปัญหาแบบระหว่างกลาง) พร้อมทั้งทำการแบ่งระดับความสามารถ (ต่ำและสูง) ก่อนการอบรม จากนั้นทำการอบรมตามรูปแบบการสอนที่พิจารณาถึงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา และประเมินผลหลังการอบรม ผลการทดสอบของหลังการอบรม มีความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านของกลยุทธ์การแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ซึ่งส่งผลต่อการความสามารถในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ (PSVT และ MRT) ซึ่งผู้เรียนที่มีระดับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงที่ใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาแบบระหว่างกลางในห้องอบรมแบบวิเคราะห์มีคะแนนจากแบบทดสอบ MRT สูงกว่าผู้เรียนในห้องอบรมแบบองค์รวม จึงสามารถสรุปได้ว่าผู้เรียนที่มีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาแบบระหว่างกลางสามารถสลับกลยุทธ์ที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Gluck and Fitting (2003) อย่างไรก็ตามผลจากการทดลองนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี หรือใช้เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้ออกแบบข้อมูลตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านของกระบวนการคิด และผลการทดลองจึงสรุปได้ว่าเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ควรออกแบบเครื่องมือ หรือรูปแบบการสอนโดยคำนึงถึงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงสิ่งนั้นๆได้อย่างลึกซึ้ง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Spatial ability was the ability to perceive and perform manipulation on mental perception accurately. While majority of researches in this area have been focusing on the development of the training materials despite a concern of human factor as their cognitive strategy for solving spatial problems. Thus, the purpose of this study was to compare effectiveness for spatial solving with the different strategies through training according to individual spatial strategy with. First, the students were investigated their spatial strategy (Holistic, Analytic and Intermediate strategy) and their performance (low and High level). Then, they were randomly assigned to one of three types of training. After that they were evaluated their solving performance. Result revealed that after training, there were some individual differences in term of people’s spatial strategy that effect on their spatial performance (PSVT, MRT). Students with intermediate strategy in analytic room performed significantly higher spatial score than Students with intermediate strategy in holistic room which is consistent with the study of Gluck and Fitting (2003) who claimed that Students with intermediate strategy could switch their strategy when met the complex task.. Moreover, the result of this study will give guideline for the developed the technology for the future. And it could also be an informative for the information designer or interface designer of any system to realize that people were differences in term of their thought process of any spatial information. Thus, it would be worth considering the spatial strategy of students in order to enhance accuracy interpretation.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.