Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A Development of Prediction Model for Ungauged Area in the Upper Ping Catchment

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

พิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์

Second Advisor

สุภัทรา วิเศษศรี

Faculty/College

Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Industrial Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมอุตสาหการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1428

Abstract

ข้อมูลปริมาณน้ำท่ามีความสำคัญต่อการวางแผนและการจัดการทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการเกิดอุทกภัย หรือ ภัยแล้ง ซึ่งในบางพื้นที่ลุ่มน้ำไม่มีการบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำท่าหรือมีการบันทึก แต่สถิติข้อมูลไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้งาน ดัชนีทางอุกทกวิทยาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้นำเสนอวิธีการในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่าในบริเวณที่ไม่มีสถานีวัดน้ำท่าจำนวน 34 ลุ่มน้ำย่อยในบริเวณลุ่มน้ำปิงตอนบนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยทำการศึกษาในช่วงปี 2549-2557 ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยมาประยุกต์ใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีน้ำท่ากับลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำจำนวน 7 ตัว ได้แก่ สัมประสิทธิ์น้ำท่า ดัชนีการไหลพื้นฐาน ดัชนีความอ่อนไหวของน้ำท่าต่อน้ำฝนตามฤดูกาล เปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า เปอร์เซนไทล์ที่ 50 ของปริมาณน้ำท่า เปอร์เซนไทล์ที่ 5 ของปริมาณน้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ และผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ย โดยใช้ช่วงความเชื่อมั่นจากตัวแบบการถดถอยในการจำกัดชุดพารามิเตอร์ของแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า และใช้ตัวชี้วัด NSE* และ Reliability ในการประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลอง ผลการศึกษาพบว่าดัชนีน้ำท่าที่มีความสามารถในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่ามากที่สุดคือเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า สัมประสิทธิ์น้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ ผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ย และดัชนีความอ่อนไหวของน้ำท่าต่อน้ำฝนตามฤดูกาล มีความสามารถในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่าน้อยที่สุด โดยเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า สัมประสิทธิ์น้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ และผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ยใช้ได้ดีในบริเวณลุ่มน้ำย่อยที่มีลักษณะการใช้ที่ดินแบบเกษตรกรรมและมีขนาดเล็ก

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Flow data are essential for hydrological study, planning, and management to prevent drought and flood in a region. In catchments where flow data are not recorded or of poor quality, hydrological indices could be an alternative for predicting flow in ungauged catchments. This study demonstrates the methodology for predicting flow in ungauged catchments through the case study of 34 sub-catchments of the upper Ping catchment in northwest Thailand from 2006-2014. The regression method was applied to investigate the relationship between seven flow indices including runoff coefficient, base flow index, seasonal rainfall-flow elasticity, 95th percentile of flow, 50th percentile of flow, 5th percentile of flow, annual specific runoff, difference of flow and rainfall, and catchment properties. The confidence interval of the regression relationship was used to constraint rainfall-runoff model parameters. The model performance was tested by NSE* and reliability. The 95th percentile of flow was found to be the most informative index to regionalize flow followed by runoff coefficient, Annual specific runoff, and Difference of flow and rainfall, respectively. The Seasonal rainfall-flow elasticity had least contribution to the prediction of flow with poor NSE* and large uncertainty. The 95th percentile of flow and RC generally worked well for small sub-catchments which are relatively large percentage of Agriculture cover tends to achieve better flow predictions.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.