Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

THE STUDY OF PHENOLIC COMPOUNDS EXTRACTION FROM Wolffia globosa AND ITS APPLICATION FOR ENCAPSULATION- BASED EMULSION COSMETIC

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

พิมพ์พร พลเพชร

Second Advisor

ชุติมณฑน์ สถิรพิพัฒน์กุล

Faculty/College

Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Chemical Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมเคมี)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมเคมี

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1295

Abstract

จุดมุ่งหมายหลักของงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาสภาวะที่หมาะสมของการสกัดและการพัฒนาการขึ้นรูปไมโครอิมัลชันของไข่น้ำ อิทธิพลของพารามิเตอร์การสกัดต่อค่าผลได้และค่าต้านอนุมูลอิสระของไข่น้ำได้ถูกประเมิน สภาวะที่เหมาะสมของการสกัด คือ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เวลา 120 นาที เมื่อใช้สารละลายเอทานอลความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร และ อัตราส่วนตัวทำละลายต่อของแข็ง ที่ 15 ต่อ 1 ค่าสูงสุดที่ได้ คือ ค่าผลได้สารประกอบฟีนอลิก (40.23 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมน้ำหนัก) ค่าผลได้สารฟลาโวนอยด์ (258.09 มิลลิกรัมสมมูลสารเคชินต่อกรัมน้ำหนัก) และค่าความสามารถต้านอนุมูลอิสระ (34.98 มิลลิกรัมสมมูลสารโทล็อกซ์เมื่อวัดด้วยวิธี DPPH) จากผลที่ได้นั้นค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของการสกัดมีค่าในช่วง 6.43 x 10-7 ถึง 1.32 x 10-6 ตารางเมตรต่อวินาที สารสกัดได้ถูกนำมากักเก็บในรูปไมโครอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำที่ผลิตโดยการใช้เครื่องปั่นความเร็วสูง ผลของปริมาณน้ำมัน ชนิดสารลดแรงตึงผิว ความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว และเวลาที่ทำให้เกิดอิมัลชันต่อสมบัติทางกายภาพเคมีของไมโครอิมัลชันได้ถูกตรวจสอบ สภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมไมโครอิมัลชัน คือ ใช้กรดสเตียริกความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก สารลดแรงตึงผิวร่วมชนิดผสมระหว่าง TWEEN ® 40 และ Cremophor ® RH40 ในปริมาณ 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และเวลาในการทำให้เกิดอิมัลชัน 15 นาที ไมโครอิมัลชันของไข่น้ำมีขนาดอนุภาค 0.658 ไมโครเมตร ค่าศักย์ซีต้า -47.00 มิลลิโวลต์ และค่าการกระจายตัวของขนาดอนุภาคที่ 0.264 อนุภาคทรงกลมมีค่ากักเก็บมากที่สุดที่ 91.45 เปอร์เซ็นต์

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The main purpose of this research work is to investigate the optimal condition for extraction and develop a microemulsion formulation of Wolffia globosa. Influence of extraction parameters on yield and antioxidant activity of Wolffia globosa were evaluated. Optimal extraction condition was 50 °C for 120 min with 70% ethanol solution and a 15:1 solvent-to-solid ratio. The highest phenolic yield (40.23 mg GAE / g weight), flavonoid yield (258.09 mg CE /g weight) and antioxidant activity (34.98 mg Trolox for DPPH scavenging assay) of Wolffia globosa were obtained. From the results, the effective diffusivity of extraction was ranged from 6.43 x 10-7 to 1.32 x 10-6 m2/s. The extract was encapsulated into oil-in-water microemulsion produced by using high speed homogenizer. The effect of oil content, surfactant type, surfactant concentration and emulsification time on physicochemical properties of microemulsion was examined. The optimum condition was 10% stearic acid, 10% surfactant (TWEEN ® 40 with Cremophor ® RH40) and emulsification time 15 minute. Microemulsion of Wolffia globosa had average size of 0.658 µm, zeta potential value of -47.00 mV and polydispersity index of 0.264. Spherical particles with maximum entrapment of 91.45 % was obtained.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.