Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Postmortem Detection Of Acute Hypoxia Using Mir-155, Mir-210 And Mir-373
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
กรวิก มีศิลปวิกกัย
Second Advisor
กรเกียรติ วงศ์ไพศาลสิน
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การแพทย์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1206
Abstract
การเสียชีวิตจากการขาดอากาศแบบเฉียบพลันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตพบได้ทั่วไปในทางนิติเวชศาสตร์ แต่บางกรณีจะไม่พบร่องรอยการเสียชีวิตทำให้ยากในการวินิจฉัยหาสาเหตุการเสียชีวิต จุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาการแสดงออกของ miR-155 miR-210 และ miR-373 เพื่อนำมาใช้เป็นตัวกําหนดชีวภาพช่วยวินิจฉัยหาสาเหตุการเสียชีวิตจากการขาดอากาศแบบเฉียบพลัน โดยศึกษาในกลุ่มผู้เสียเสียชีวิตจากการขาดอากาศแบบเฉียบพลันและกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี โดยใช้เทคนิค Real-time qPCR พบว่ามีการแสดงออกของ miR-155 แตกกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มเสียเสียชีวิตจากการขาดอากาศแบบเฉียบพลันสูงเป็น 2.27 เท่า (p<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ขณะที่พบการแสดงออกของ miR-373 น้อยมากทั้งในกลุ่มเสียเสียชีวิตจากการขาดอากาศแบบเฉียบพลันและกลุ่มควบคุม และ miR-210 ต้องใช้ขนาดตัวอย่างจำนวนมาก ผู้วิจัยคาดว่าการแสดงออกของ miR-210 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา miR-155 ที่สามารถนำไปใช้เป็นตัวกําหนดชีวภาพสำหรับการวินิจฉัยการเสียเสียชีวิตจากการขาดอากาศแบบเฉียบพลัน miR-210 และ miR-373 ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นตัวกําหนดชีวภาพสำหรับการวินิจฉัยการเสียเสียชีวิตในกรณีดังกล่าว
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Acute hypoxic death has been generally determined as a cause of death in forensic examination. There are some circumstances that showed no gross anatomical change and thus increased the difficulty in determining hypoxia as cause of death. Recent studies demonstrated that miRNA could be used as a biomarker for acute hypoxia. We investigated miR-155 miR-210 and miR-373 expressions between acute hypoxic case and control groups by quantitative RT- PCR. miR-155 was significantly higher in acute hypoxic group then control group (2.27-fold, p<0.05). While miR-373 showed very low level of expression in both groups. In additional, calulated sample size of miR-210 is extremely large suggested that the expression of miR-210 probably not statistically significant between both groups. In summary, miR-155 could be a promising tool for determining cause of death in hypoxia case. miR-210 and miR-373 are unsuitable as a diagnosis marker for postmortem acute hypoxia.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มาดี, รุ่งทิพย์, "การตรวจหาภาวะขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลันหลังการเสียชีวิต โดยใช้ miR-155 miR-210 และ miR-373" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1696.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1696