Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Selected factors related to anhedonia among persons with major depressive disorder, Southern region

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

รัชนีกร อุปเสน

Faculty/College

Faculty of Nursing (คณะพยาบาลศาสตร์)

Degree Name

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พยาบาลศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1112

Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ ความรุนแรงของอาการย้ำคิดย้ำทำ ภาวะซึมเศร้า การทำหน้าที่ทางสังคม ความวิตกกังวล และเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยอายุ 20 -59 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า สามารถฟัง พูดภาษาไทยได้ ร่วมมือดี ยินยอมในการให้ข้อมูล และไม่มีอาการทางจิต รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิต เขตภาคใต้ โดยวิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 144 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดอาการย้ำคิดย้ำทำ 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้า 4) แบบประเมินการทำหน้าที่ทางสังคม 5) แบบวัดความวิตกกังวล 6) แบบวัดเหตุการณ์เครียดในชีวิต และ 7) แบบวัด Temporal experience of pleasure scale (TEPS) เครื่องมือผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรแอลฟ่าครอนบาค พบค่า ความเที่ยงของแบบสอบถาม ชุดที่ 2, 3, 4, 5 และ 7 เท่ากับ 0.98, 0.94, 0.85, 0.95 และ 0.92 ตามลำดับ ส่วนเแบบวัดเหตุการณ์เครียดในชีวิตหาค่าความเที่ยงภายนอกโดยวิธีการวัดซ้ำ พบค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์และสถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลวิจัย พบว่า 1. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีภาวะสิ้นยินดี คิดเป็นร้อยละ 62.5 ( x = 3.52, S.D. = 1.03) 2. อายุ มีความสัมพันธ์กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb =.163) 3. ความรุนแรงของอาการย้ำคิดย้ำทำ ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และเหตุการณ์เครียดในชีวิต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb = .382, rpb = .444, rpb = .294, rpb = .294 ตามลำดับ) 4. การทำหน้าที่ทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb = -.470) 5. เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were to examine level of anhedonia of persons with major depressive disorder and to study the relationship between gender, age, obsessive-compulsive symptoms, depression, social functioning, anxiety, stressfull life event and anhedonia among persons with major depressive disorder.The samples were 144 MDD patients, randomly selected by purposive sampling technique. The research instruments were: 1) personal factor 2) obsessive- compulsive symptoms 3) depression 4) anxiety 5) life event stress 6) social functioning and 7) Temporal experience of pleasure scale (TEPS). All instruments were verified for Content Validity Index by five experts and reliability >.80 (0.98, 0.94, 0.85, 0.95, 0.83,0.92). Data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-square and Point Biserial Correlation. 1. Participants had the anhedonia about 62.5% ( x = 3.52, S.D. = 1.03) 2. Age was significant correlation with anhedonia (rpb =.163) 3. Obsessive-compulsive symptom, depression, anxiety and life event stress were positively significant correlation with anhedonia (rpb = .382, rpb = .444, rpb = .294, rpb = .294 respectively) 4. social functioning was negatively significant correlation with anhedonia (rpb = -.470) 5. gender was not related to anhedonia among persons with Major Depressive disorder.

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.