Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Experiences of nurses as a family caregiver of elderly relatives with dementia
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Second Advisor
อารีย์วรรณ อ่วมตานี
Faculty/College
Faculty of Nursing (คณะพยาบาลศาสตร์)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
พยาบาลศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1084
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อมจำนวน 14 คน โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การบันทึกภาคสนาม และนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษาประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อมมีดังต่อไปนี้ 1. สังเกตเห็นอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป 1.2) โวยวาย ตะโกนด่า พูดจาหยาบคาย และ 1.3) หลงลืมหลายเรื่อง ถามต่อเนื่องซ้ำไปซ้ำมา 2. พยาบาลถูกเสนอเป็นผู้ดูแลหลัก ไม่ยึกยักรับได้จากหลายเหตุผล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) หน้าที่ของลูกต้องดูแลบุพการี 2.2) ตอบแทนบุญคุณที่ท่านลี้ยงดูเมื่อเยาว์วัย และ 2.3) เป็นแบบอย่างให้ลูกของตนได้ปฏิบัติตาม 3. เริ่มต้นจากดูแลเหมือนคนทั่วไป ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) มั่นใจว่าทำได้ แค่ดูแลการใช้ชีวิตประจำวัน 3.2) หากไปทำงานวานผู้อื่นดูแลให้ และ 3.3) หงุดหงิดใจหากท่านทำในสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ 4. หาความรู้สร้างความเข้าใจ พร้อมรับปรับการดูแลใหม่ ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) ใส่ใจกิจวัตรประจำวัน 4.2) จัดการและป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ 4.3) ดูแลเพื่อคงความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้ 4.4) พาไปตรวจตามแพทย์นัด 4.5) จัดสรรเวลาพาเที่ยวนอกบ้าน และ 4.6) ชวนท่านทำบุญทำทาน ไหว้พระสวดมนต์ 5. ปัญหามากมาย เหนื่อยกายและใจ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 5.1) รับผิดชอบงานหลากหลาย ร่างกายพักผ่อนไม่พอ และ 5.2) รู้สึกท้อ เครียดง่าย และเหนื่อยใจ 6. หาวิธีการจัดการ เพื่อให้ชีวิตเกิดสมดุล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 6.1) ให้ญาติผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนดูแลร่วมด้วย 6.2) หาพี่เลี้ยงช่วย แต่อยู่ไม่ทน ต้องมีกลยุทธ์ซื้อใจหลายอย่างและ 6.3) บางปัญหาไม่ได้หมดไป ต้องเรียนรู้แก้ไขและทำใจไปพร้อมๆกัน ผลการวิจัยนี้ทำให้เข้าใจพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น พยาบาลผู้สูงอายุสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของพยาบาลวิชาชีพให้มีความเข้าใจอาการของโรคตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพและเหมาะสม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this qualitative study was to describe experiences of professional nurses caring for an elderly family member with dementia. Heideggers hermeneutic phenomenology was applied as a research methodology. Purposive sampling was used to select 14 professional nurses as a principle caregiver of an elderly family member with dementia at least 1 year and working as a full-time nurse. Data were ethically collected by using in-depth interview, observation and artifacts. Contents were analyzed by using content analysis of van Manens method. The findings regarding to this study were consisted of 6 major themes and 20 sub-themes as follows: 1. Noticing symptoms of dementia, with consisted of 3 sub-themes as follows; 1.1) Changing daily life behaviors, 1.2) Being aggressive, and 1.3) Being forgetfulness. 2. Reasons of being a principle caregiver, with consisted of 3 sub-themes as follows; 2.1) The duty of the child to care for the parent, 2.2) Being gratitude, and 2.3) Being a good model for the next generation. 3. Caring an elderly with dementia as a healthy member in the family, with consisted of 3 sub-themes as follows; 3.1) Taking care of daily life confidently, 3.2) Asking other family members to look after elderly when working out, and 3.3) Feeling irritated with undesirable behaviors of an elderly. 4. Learning to understand and then adjust to care for an elderly with dementia, with consisted of 6 sub-themes as follows; 4.1) Paying attention of daily activities, 4.2) Preventing some risks may happen, and 4.3) Maintaining the ability to help themselves, 4.4) Taking an elderly for a physicians appointment, 4.5) Finding a free time to travel and 4.6) Taking an elderly to make merit and pray. 5. Resulting negative caregiving impacts, with consisted of 2 sub-themes as follows; 5.1) Having physical burden, and 5.2) Getting psychological drain. 6. Solving problems for getting work-life balance, with consisted of 3 sub-themes as follows; 6.1) Asking relatives shuffle care for elderly, 6.2) Hiring a caregiver and then finding strategies to keep a good caregiver to work as long as possible, and 6.3) Learning to deal with problems and finding activities to relax yourself. These findings were clear understanding of caring for a family member with dementia at home by a professional nurse as a principle caregiver. In addition, elderly nurses can use this findings as a guideline to suggest appropriate and quality care for elderly with dementia.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เขื่อนสมบัติ, ธวัชชัย, "ประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อม" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1574.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1574