Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

COMPARISON OF MATHEMATICS PROBLEM SOLVING SKILL DEVELOPMENT AND MATHEMATICS SELF-EFFICACY DEVELOPMENT OF LOWER SECONDARYSCHOOL STUDENTS USING DIFFERENT SELF ASSESSMENT METHODS: APPLIED ANNOTATED RUBRIC AND OPEN-ENDED QUESTIONNAIRE

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การวัดและประเมินผลการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.739

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลางและต่ำที่ประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด และ 2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อพัฒนาการทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การออกแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบมีการทดสอบก่อนและหลัง การจัดกระทำและมีกลุ่มควบคุม โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 90 คน แบ่งเป็นนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ระดับละ 30 คน โดยผู้เรียนในแต่ละระดับความสามารถจะประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองด้วยวิธีการ 3 วิธี ได้แก่ วิธีการใช้รูบริกแอนโนเทตประยุกต์ วิธีการใช้แบบสอบถามปลายเปิดและวิธีการไม่ใช้เครื่องมือใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ 3) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์ 4) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีการประเมินตนเองโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำที่ประเมินทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์มีพัฒนาการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการ การรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ใช้แบบสอบถามปลายเปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 2. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ต่อคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ต่อคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์การรับรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The ojectives of this study were: 1) to compare mathematics problem solving skill development and mathematics self-efficacy development of secondary school students in excellent, moderate and poor math competency levels assessing themselves by using applied annotated rubric and open-ended questionnaire methods, 2) to examine the interaction between self-assessment methods and competency levels on mathematics problem solving development and mathematics self-efficacy development of secondary school students. Quasi-experimental pretest-posttest control group design was employed in this study. Sample were 90 students in secondary school devided into 3 math competency levels, i.e., excellent, moderate and poor. Each competency level consisted of 30 students. The students in each competency level conduct the self-assessment by using three self-assessment methods, i.e., applied annotated rubric, open-ended questionnaire, and general methods. Research instruments included 1) mathematics problem solving skill tests, 2) mathematics self-efficacy tests, 3) mathematics problem solving skill exercises with applied annotated rubrics, 4) mathematics problem solving skill exercises with open-ended questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics, repeated measures ANOVA, one-way ANOVA and two-way ANOVA. Findings were as follows: 1. Mathematics problem solving skill development and mathematics self-efficacy development of students with excellent, moderate and poor competency assessed themselves by using applied annotated rubric was higher than those assessed themselves by using open-ended questionnaire at .01 significant level. 2. There was an interaction between self-assessment method and competency levels on mathematics problem solving skill development of secondary school students at the statistically significant level of .01, but there was no interaction between self-assessment method and competency levels on mathematics self-efficacy development at the statistically significant level of .05.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.