Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Study on effect of raked piles in loading platform on resistance to seismic force and berthing force
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
อาณัติ เรืองรัศมี
Faculty/College
Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Civil Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมโยธา)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมโยธา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.926
Abstract
โครงสร้างแท่นกลางทะเล (loading platform) ที่อยู่ตามชายฝั่งนั้นส่วนใหญ่ จะต้องสามารถรับแรงด้านข้างไม่ว่าจะเกิดจากแรงแผ่นดินไหว(Earthquake force), แรงกระแทกจากเรือ (Berthing force) ดังนั้นตัวโครงสร้างแท่นกลางทะเลจำเป็นต้องต้านทานต่อแรงด้านข้างได้ดี การใช้เสาเข็มเอียงเป็นที่นิยมในการรับแรงด้านข้าง ดังนั้นงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นไปการวิเคราะห์ปริมาณเสาเข็มเอียงและมุมเอียงของเสาเข็มมีผลอย่างไรต่อผลตอบสนองของโครงสร้าง โดยทำการสร้างแบบจำลองแท่นกลางทะเลที่มีความยาว 37 เมตรและกว้าง 47 เมตร โดยมีเสาเข็มทั้งหมด 96 ต้น โดยแบ่งเป็นด้านยาว 5 แถวและด้านกว้าง 9 แถว โดยที่การสร้างแบบจำลองออกเป็น 21 แบบจำลองโดยจะใช้โปรแกรม SAP2000 เพื่อที่จะศึกษาพารามิเตอร์ที่ทำการศึกษานั้นได้แก่ 1.มุมเอียงของเสาเข็ม 2.ปริมาณของเสาเข็มเอียง ที่ซึ่งจำนวนของเสาเข็มเอียงและมุมเอียงของเสาเข็มจะแตกต่างกันในแต่ละแบบจำลอง โดยจำนวนเสาเข็มเอียงนั้นแบ่งออกเป็น 0,8,16,24,40,60 ต้นและมุมเอียงของเสาเข็มแบ่งออกเป็น 1/3, 1/4, 1/6,1/8 ที่ซึ่งผลตอบสนองของโครงสร้างที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ แรงในแนวแกน, โมเมนต์ดัด, สัดส่วนการใช้งาน, การกระจัด โดยแรงภายนอกที่มาใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่แรงแผ่นดินไหวโดยใช้วิธีการตอบสนองแบบโหมดและแรงกระแทกของเรือ โดยผลจากวิเคราะห์ผลตอบสนองแบบโหมดพบว่าเมื่อเพิ่มจำนวนเสาเข็มเอียงและมุมเอียงของเสาเข็มพบว่าคาบตามธรรมชาติของลักษณะการสั่นในทางด้านข้างลดลงจาก 1.34 วินาที เหลือ 0.28 วินาที และในกรณีแรงแผ่นดินไหวผลตอบสนองของโครงสร้างพบว่าพารามิเตอร์ทั้งสองส่งผลอย่างมากโดยเมื่อเพิ่มจำนวนเสาเข็มเอียงและมุมเอียงของเสาเข็มเอียงนั้นพบว่าค่าการกระจัดลดลงจากแบบจำลองที่ไม่มีเสาเข็มเอียงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และความแตกต่างของผลตอบสนองระหว่างเสาเข็มตรงและเสาเข็มเอียงพบว่าแตกต่างกันอย่างมากในแรงในแนวแกนและอัตราส่วนการใช้งาน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Loading platforms must be able to resist lateral force caused by seismic and berthing forces. This research focuses on analyzing the effect of raked piles on the response of the structure. The loading platform is 47 m long and 35 m wide. The loading platform was modeled in the SAP2000 program. The parameters are 1) the raking angles of piles and 2) the number of raked piles. The number of raked piles was varied as 0, 8, 16, 24, 40, and 60 piles, and the raking angle was varied as 1/3, 1/4, 1/6, and 1/8. The observed structural responses include the axial force, bending moment, utilization ratio, and displacement. It was found that when increasing the number of raked piles and the raking angle of the pile, the natural period decreased from 1.34 seconds to 0.28 seconds. In seismic response, it was found that both parameters had a significant impact. Increasing the number of raked piles and the raking angle resulted in a displacement reduction of up to 90 percent compared to the model without raked piles. The difference in response between vertical piles and raked piles was found to be significant in terms of axial force and utilization ratio.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ขันการไถ, กณิศ, "การศึกษาผลของเสาเข็มเอียงในแท่นกลางทะเลต่อการต้านทานแรงจากแผ่นดินไหวและแรงกระแทกจากเรือ" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11890.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11890