Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Analysis of a forest fire risk in chulachomklao royal military academy and nearby areas nakhon nayok province using remote sensing and GIS techniques
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริมา ปัญญาเมธีกุล
Second Advisor
กฤตยาภรณ์ เจริญผล
Faculty/College
Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.978
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยจากไฟป่าและถอดบทเรียนกรณีศึกษาการเกิดไฟป่าในเขตพื้นที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดนครนายก ซึ่งวิธีการศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยจากไฟป่าได้ใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT-8 บันทึกข้อมูลภาพปี พ.ศ. 2559, พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2566 และนำมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีผลต่างพืชพรรณ (Normalized difference vegetation index: NDVI) และค่าอุณหภูมิพื้นผิว(Land surface temperature: LST) นอกจากนั้นใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 บันทึกข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2559, พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2566 มาวิเคราะห์หาค่าดัชนีการเผาไหม้ (Difference Normalized Burn Ratio: dNBR) เพื่อหาพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้โดยใช้โปรแกรม SNAP โดยทั้งนี้การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่านั้นนำปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แก่ ความสูงจากระดับน้ำทะเล ความลาดชัน ทิศด้านลาด ชนิดป่า ระยะห่างจากเส้นทางคมนาคม ระยะห่างจากตำแหน่งหมู่บ้าน ระยะห่างจากพื้นที่เกษตรกรรม ค่าดัชนี NDVI และ ค่า LST พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าในพื้นที่ศึกษาได้กำหนดค่าคะแนนความสามารถของปัจจัยแต่ละตัว (Rating value) โดยใช้การคำนวณเปอร์เซ็นต์ CV (Coincided Value) ช่วยในการพิจารณา ส่วนค่าถ่วงน้ำหนักความสำคัญระหว่างปัจจัย (Weight Score) ได้จากการให้คะแนนโดยผู้เชี่ยวชาญและนำมาคำนวณด้วยวิธีการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) ผลการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยจากไฟป่าสามารถจำแนกได้ 4 ชั้น คือ พื้นที่เสี่ยงมากที่สุด พื้นที่เสี่ยงมาก พื้นที่เสี่ยงปานกลาง และพื้นที่เสี่ยงน้อย คิดเป็นพื้นที่เท่ากับ 30,982.19 ไร่ (17.98%), 34,307.94 ไร่ (19.90%), 103,087.69 ไร่ (59.81%) และ 3,977.44 ไร่ (2.31 %) ตามลำดับ โดยพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดส่วนใหญ่อยู่ใน ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง ในส่วนผลการถอดบทเรียนไฟป่าพบว่า ไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดสอบปัจจัยที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงจากไฟป่าในด้านปัจจัยระยะห่างจากพื้นที่เกษตรกรรม ระยะห่างจากเส้นทางคมนาคม ที่มีคะแนนความสำคัญมากที่สุด และรองลงมาคือปัจจัยระยะห่างจากหมู่บ้าน ล้วนปัจจัยที่แสดงถึงความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่และกิจกรรมที่อาจส่งผต่อการเกิดไฟป่า การจัดการปัญหาไฟป่าควรเริ่มตั้งแต่การเฝ้าระวัง การบริหารจัดการเชื้อเพลิงก่อนถึงฤดูไฟป่า การทำแนวกันไฟเพิ่มในพื้นที่เสี่ยง การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาไฟป่า การเตรียมความพร้อมบุคลากรโดยจัดอบรมและฝึกซ้อมดับไฟป่า การป้องกัน เฝ้าระวัง ลาดตระเวน และเพิ่มจุดตรวจช่วยลดการลักลอบการจุดไฟได้ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มในเรื่องอุปกรณ์ดับไฟป่า ควรเพิ่มโทษทางกฎหมายต่อผู้กระทำผิด สิ่งสำคัญที่สุดคือการสนธิกำลังและบูรณาการความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานของรัฐและชาวบ้าน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The aim of this study is to assess the areas at risk of wildfires around the Chulachomklao Royal Military Academy (CRMA) and its vicinity in Nakhon Nayok Province. The study utilized Remote Sensing and GIS techniques to analyze SENTINEL-2 satellite imagery from 2016, 2020, and 2023 to examine the Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) and Land Surface Temperature (LST). The images from the Sentinel-2 satellite were employed to calculate the Difference Normalized Burn Ratio (DNBR) using the SNAP program to identify burned areas. Various factors including elevation, slopes, aspect, forest type, distances from roads and districts, proximity to agricultural areas, NDVI, and LST were considered to determine areas at risk of wildfires. The areas were categorized into four levels of risk, with the highest risk area being identified in Prommani, Ampher Muang, totaling 4,957.15 ha. (17.98%), 5,489.3 ha. (19.90%), 16,494.0 ha. (59.81%), and 636.4 ha. (2.31%) for highest risk, high risk, moderate risk, and low risk areas, respectively. The finding in this study attributes that human activities were identified as the cause of the wildfires, with factors such as distance from agricultural areas and proximity to transportation routes being of utmost importance. Recommendations for wildfire management include fuel management before wildfire season, increasing firebreak in risk areas, conducting campaigns to raise awareness about wildfire issues, and organizing personnel training seminars.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุขศรี, ปาริฉัตต์, "การใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการประเมินพื้นที่เสี่ยงไฟป่า ในเขตพื้นที่ป่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดนครนายก" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11646.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11646