Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Demand forecasting and replenishment policy of finished goods for a home appliance business
Year (A.D.)
2024
Document Type
Thesis
First Advisor
สิริอร เศรษฐมานิต
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
DOI
10.58837/CHULA.THE.2024.430
Abstract
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพยากรณ์ที่สอดคล้องกับปริมาณความต้องการขาย ซึ่งมีความสำคัญที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านด้วยวิธีกำหนดปริมาณการสั่งซื้อคงที่ (Order quantity model) เพื่อลดจำนวนเงินลงทุนในสินค้าคงคลัง และต้นทุนรวมของสินค้าคงคลัง โดยในปัจจุบันบริษัทกรณีศึกษาลงทุนในสินค้าคงคลังเฉลี่ยต่อเดือนสูงถึง 545 ล้านบาท แต่มียอดขายเพียง 115 ล้านบาท หรือ 1 ใน 5 ของมูลค่าสินค้าคงคลัง รวมไปถึงข้อจำกัดของการสั่งซื้อสินค้าตามปริมาณการสั่งขั้นต่ำ (MOQ) แบบบรรจุเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ที่ทำให้จำเป็นต้องถือครองสินค้าคงคลังในปริมาณสูง การศึกษาเริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลยอดขายสินค้าระหว่างปี 2019-2023 มาจำแนกความสำคัญด้วยหลักการวิเคราะห์ ABC Analysis แล้วเลือกสินค้าใน Class A ที่มีมูลค่าการถือครองมากกว่า 35 ล้านบาทต่อปี จำนวน 9 รายการ มาเป็นตัวอย่างในการศึกษา จากนั้นศึกษาจากรูปแบบของข้อมูล แล้วทำการศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคการพยากรณ์และใช้ MAPE เป็นตัวชี้วัดในความแม่นยำ จากนั้นนำเสนอนโยบายด้วยวิธีการสั่งซื้อสินค้าด้วยปริมาณการสั่งคงที่หรือ Q โมเดล ผลการศึกษาพบว่าสินค้าที่มี demand แบบ no trend, no seasonal จะใช้วิธี SES สินค้าที่มี demand แบบมี trend, no seasonal จะใช้วิธี DES และสินค้าที่มี demand แบบ seasonal จะใช้เทคนิค TES ในการพยากรณ์ และในส่วนของการกำหนดนโยบายการสั่งซื้อสินค้าด้วยปริมาณการสั่งคงที่ โดยกำหนดค่าจุดสั่งซื้อ (ROP) จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และสั่งซื้อตามปริมาณ MOQ ทำให้สามารถลดปริมาณเงินลงทุนในค่าสินค้าคงคลัง ลงได้ 85 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17% และสามารถลดต้นทุนในการจัดการสินค้าคงคลังลงได้ 3 ล้านบาท หรือคิดเป็น 31%
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aims to study an appropriate time series forecasting technique for finished goods in home appliance business and propose an inventory policy with an order quantity model to reduce total inventory cost. Nowadays, company investing in inventory costs an average of 545 MTHB per month, while sales costs 115 MTHB per month or 1/5 of the inventory cost. In addition, suppliers require a minimum order quantity (MOQ). ABC classifications is used to select sampling items for physical year 2019-2023 demand data focusing on class A which consumes over 35 MTHB per year 9 items. The historical demand data are classified into three groups: 1. data with no seasonality, no trend 2. data with seasonality, no trend 3. Data with seasonality. Then, used time series forecasting method compare each. The best-fit forecasting technique will be chosen with the lowest MAPE to determine the inventory -policy. Proposing inventory management policy with the order quantity model. The result showed the order quantity policy found that best results in reorder point ROP in mathematics and EOQ by supplier are reduced inventory capital cost of 85 MTHB or 17% and reduced holding cost and ordering cost of 3 MTHB or 31%
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ทินวงค์, พิมพ์ชนก, "การพยากรณ์ความต้องการสินค้าสำเร็จรูป และนโยบายการเติมเต็มสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11069.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11069