Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Innovative hospital service quality measurement
Year (A.D.)
2014
Document Type
Thesis
First Advisor
ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย
Second Advisor
พสุ เดชะรินทร์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2014.2062
Abstract
บริการสุขภาพมีการปรับตัวตามกระแสโลกาภิวัฒน์ คุณภาพบริการได้กลายมาเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการสร้างความเปรียบในการแข่งขันขององค์กรที่ให้บริการสุขภาพในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อศึกษา พัฒนาตัวแบบและระบบนวัตกรรมการวัดความพึงพอใจคุณภาพบริการโรงพยาบาล (HSQ-MS) เพื่อศึกษาว่าคุณภาพบริการโรงพยาบาลมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจบริการ และส่งผลต่อพฤติกรรมการรับบริการ การวิจัยเริ่มจากการศึกษาแนวคิดคุณภาพบริการทางด้านการตลาดของ Groonroos (1984) และ Parazuraman et.al.(1988) และคุณภาพบริการทางการแพทย์ของ Donabedian (1988) ผนวกเข้ากับการรับรู้คุณภาพบริการในมุมมองผู้รับบริการและแนวคิดเรื่องความพึงพอใจผู้ป่วย ซึ่งเป็นการนำแนวคิดคุณภาพในมุมมองผู้ให้บริการและผู้รับบริการมาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดพื้นฐาน และนำเสนอโครงสร้างการวัดความพึงพอใจคุณภาพบริการโรงพยาบาล โดยศึกษาองค์ประกอบย่อยภายใต้มิติคุณภาพของการวัดความพึงพอใจคุณภาพบริการ ด้วยตัวแบบคาโน เพื่อจัดแบ่งประเภทความสำคัญคุณลักษณะคุณภาพที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในมุมมองของผู้รับบริการ และพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจผู้รับบริการในทุกคุณลักษณะคุณภาพอย่างมีนัยสำคัญคือความแตกต่างของเชื้อชาติ เมื่อได้คุณลักษณะคุณภาพภายใต้องค์ประกอบมิติคุณภาพแล้ว จึงนำแนวคิดตัวแบบการวัดความพึงพอใจคุณภาพบริการโรงพยาบาล ไปศึกษาในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญคุณภาพบริการโรงพยาบาลด้วย เดลไฟล์เทคนิค เพื่อจัดกลุ่มมิติคุณภาพของตัวแบบการวัดความพึงพอใจคุณภาพบริการโรงพยาบาล ได้องค์ประกอบมิติคุณภาพ 6 ด้านคือ มิติคุณภาพด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มิติคุณภาพด้านบุคลากร มิติคุณภาพด้านการบริการในเชิงวิชาชีพ มิติคุณภาพด้านบริการหลักของโรงพยาบาล (ผลิตภัณฑ์) มิติคุณภาพด้านกระบวนการ และมิติคุณภาพด้านประสิทธิผลกระบวนการ ในขั้นตอนสุดท้าย ตัวแบบการวัดความพึงพอใจคุณภาพบริการโรงพยาบาล นี้ได้นำไปปรับปรุงและยืนยันตัวแบบในด้านโมเดลการวัด และโมเดลโครงสร้างโดยใช้ การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ตัวแบบการวัดความพึงพอใจคุณภาพบริการโรงพยาบาล สุดท้ายประกอบด้วย มิติคุณภาพ 6 มิติและคุณลักษณะคุณภาพ 28 ข้อ ได้รับการยืนยันว่าโมเดลการวัดมีความตรงเชิงภาวะสันนิษฐาน ความน่าเชื่อถือ และมีดัชนีความสอดคล้องซึ่งยืนยันตัวแบบที่นำเสนอซึ่งทำให้ได้ ตัวแบบการวัดคุณภาพบริการที่ต่างจากมุมมองด้านการตลาดของ Parazuraman ซึ่งมีความชัดเจนในมิติของบริการหลักซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของบริการนั้นโดยเฉพาะในเชิงวิชาชีพของบริการที่ต้องการความน่าเชื่อถือระดับสูง อีกทั้งการรับรู้คุณภาพบริการซึ่งอาจไม่มีความคาดหวังในบริการนั้นมาก่อนเนื่องจากคนทั่วไปอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจในบริการที่มีความฉพาะเจาะจง ผลลัพธ์บริการมีการศึกษาเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบจากการศึกษาของ Parazuraman and Groonroos ซึ่งในทางการแพทย์ตามแนวคิดของ Donabedian ได้ปรับเอาแนวคิดการรับรู้คุณภาพบริการของผู้ป่วยจากการศึกษาทางด้านการตลาดกลายเป็นประสิทธิผลบริการที่ผู้ป่วยสามารถรับรู้และประเมินได้ นอกจากนั้นการศึกษายังพบว่า คุณภาพบริการส่งผลต่อความพึงพอใจผู้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญ (β=0.99) และความพึงพอใจผู้รับบริการส่งผลต่อความตั้งใจพฤติกรรมการรับบริการ อย่างมีนัยสำคัญ (β =0.92) ตัวแบบนี้จึงได้นำมาใช้ในการพัฒนาระบบนวัตกรรมการวัดความพึงพอใจคุณภาพบริการโรงพยาบาล (HSQ-MS) เพื่อช่วยให้โรงพยาบาลสามารถใช้ในการวัดคุณภาพบริการ การติดตามควบคุมประสิทธิภาพบริการ และการวางแผนปรับปรุงพัฒนาอย่างเหมาะสม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Service quality has become a critical competitive strategy consideration for health care organizations. When the industry structure changes, the role of patients play in defining what quality means has become more importance. The purpose of this study is to develop hospital service quality satisfaction measurement model (HSQ-Model) and to examine the effects of this conceptualization of healthcare service quality on satisfaction and behavioral intentions. Firstly, the conceptual model was developed by using service quality in marketing study by Groonroos (1984) and Parazuraman et.al.(1988) combined with medical quality concept by Donabedian (1988). Moreover, perceived service quality and patient satisfaction concepts also included into the study to proposed service quality satisfaction measurement construct. Secondly, the service quality attributes in the construct were categorized to service quality preference based on Kano model from patient’s perspective. Moreover, the nationality is only one factor that impact patient satisfaction in every service attributes. Thirdly, the HSQ-M was modified and adjusted by the expert panel of hospital service quality by using Delphi technique. The HSQ-Model from this stage composed of six dimension of service quality measurement which are included the followings ; service facility , service personnel, service professional , service process, service product and service performance. Finally, the structural equation model was utilized to refined was refined and confirmed the HSQ-M in term of measurement and structural model. The confirmed HSQ-Model composed of 6 dimensions, 28 attributes according to the revised model from Delphi study. Both measurement and structural models were confirmed by construct validity, reliability and goodness of fit. This model is different from marketing perspective by Parazuraman in term of core service dimension has been identified clearly such as professional service , service product in healthcare which is credence services. Moreover, expectation might not be able effect satisfaction when customer has not enough knowledge in specialize service. Lastly, outcome of service were identified to be one important dimension in this model, comparing to study in marketing area. The outcome quality in medical quality concept which is emphasize on health status were adjusted by combining marketing concept then the perceived outcome of care were considered from patient perspective and their satisfaction. The findings also support that service quality has a significant impact on service satisfaction (β =0.99) and behavioral intention of customer in the future. (β =0.92). The HSQ-M was utilized in developing hospital service quality satisfaction measurement system (HSQ-MS) in order to facilitate hospital to measure service quality, monitoring performance, and prioritize area of improvement.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วงศ์รักมิตร, พัชรินทร์, "นวัตกรรมการวัดความพึงพอใจคุณภาพบริการโรงพยาบาล" (2014). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10975.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10975