Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The impacts of the 2014 military coup in Thailand on the development of Thailand's relations with the United States
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์
Faculty/College
Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)
Department (if any)
Department of International Relations (ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)
Degree Name
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.436
Abstract
การรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ในยุคปลายของประธานาธิบดี Barack H. Obama ผลักดันให้ฝ่ายการเมืองสหรัฐฯ ตอบโต้รัฐบาลทหาร เพื่อกดดันเร่งให้มีการเลือกตั้งและคืนอำนาจการปกครองแก่ประชาชนชาวไทย ด้วยการรัฐประหารขัดต่อค่านิยมที่สหรัฐฯ ส่งออกอย่างเสรีนิยมประชาธิปไตย และขัดต่อกฎหมายสหรัฐฯ โดยตรง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตลอดช่วงห้าปีแรกภายหลังการรัฐประหาร กระทั่งถึงการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 แม้จะมีการกระทบกระทั่งทางการเมืองและการทูตอยู่บ้าง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกามิได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2557 ด้วยว่ารัฐไทยยังคงมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงและการทหารของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ผ่านกลไกความร่วมมือและองค์กรของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ อันหมายถึงการคงอยู่ของผลประโยชน์แห่งชาติของทั้งสองประเทศที่ยังคงสอดคล้องกัน โดยกรอบความร่วมมือทางการทหารและความมั่นคงที่สำคัญที่สุดอย่างการซ้อมรบร่วมระดับภูมิภาค Cobra Gold และโครงการซื้อขายยุทโธปกรณ์ Foreign Military Sales (FMS) เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด อันเหนี่ยวรั้งให้ความร่วมมือทางทหารของไทยและสหรัฐฯ ยังคงอยู่ได้ เหนือพลวัตความเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างจากปัจจัยด้านอื่นๆ รวมทั้งเศรษฐกิจ และค่านิยมที่ยึดถือ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
While it may seem logical to conclude that the 2014 military coup worsened Thailand's relations with the U.S., a closer examination of their relationship since the end of the Cold War reveals a more nuanced picture. Despite not enjoying the same level of cooperation as during the Cold War, Thailand remains relevant to U.S. military and security interests and strategies in Southeast Asia and the Indo-Pacific regions. The key aspects of this military and security cooperation are the multinational Indo-Pacific military exercises, such as "Cobra Gold," which have been held annually in Thailand since 1982, and the Foreign Military Sales (FMS) that the U.S. Army grants to Thailand.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปรีสิทธิ์, ณัฐพงศ์, "ผลกระทบของการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ต่อพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10824.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10824