Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Patriarchy in South Korea: from anti-communist era to neoliberalist era
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์
Faculty/College
Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)
Department (if any)
Department of International Relations (ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)
Degree Name
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.437
Abstract
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและอธิบายถึงปรากฏการณ์กระแสต่อต้านความเท่าเทียมทางเพศในประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่เพศชายอายุ 20s ถึง 30s ปี ที่สมาทานตนว่าเป็นกลุ่มแอนไทเฟมินิสต์ ผู้เป็นฐานเสียงสำคัญในการคว้าชัยชนะของประธานาธิบดีฝ่ายอนุรักษนิยมที่ใช้นโยบายแสดงทัศนคติแห่งการเหยียดเพศและความเป็นปรปักษ์ต่อความเท่าเทียมทางเพศอย่าง ยุน ซอก ยอล ได้สำเร็จ โดยมีข้อค้นพบว่าการเกิดกลุ่มแอนไทเฟมินิสต์เป็นผลผลิตมาจากการสร้างชาติสมัยรัฐเผด็จการทหารภายใต้การนำของนายพล ปัก จอง ฮี ภายใต้บริบทแห่งสงครามเย็นและการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ พร้อมกำหนดให้ภัยคอมมิวนิสต์เป็นภัยคุกคาม ดังนั้นการกำจัดคอมมิวนิสต์จึงกลายเป็นผลประโยชน์แห่งชาติ และเพื่อที่จะไขว่คว้าหมุดหมายดังกล่าวได้ เกาหลีใต้ตามทัศนะของนายพลปัก จอง ฮีจะต้องเป็นรัฐที่ทันสมัยให้ได้เสียก่อนคือรัฐที่มั่งคั่งและมีแสนยานุภาพทางการทหารที่ยิ่งใหญ่ โดยดำเนินนโยบายผ่าน 1) การสร้างรัฐชายเหนือชายแบบผสม 2) การก่อกำเนิดกองทัพที่ส่งเสริมให้ชายเป็นใหญ่ 3) การเป็นพลเมืองตามเพศสภาวะ รวมไปถึงอิทธิพลของเศษซากมรดกจากการตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นระบบหัวหน้าตระกูลที่เรียกว่า”โฮจู”ที่มาพร้อมกับ “โฮจ๊อก” ที่ส่งผลต่อกฎหมายครอบครัวของเกาหลีใต้ในเวลาต่อมา แม้เกาหลีใต้จะสามารถปลดแอกตนเองจากการเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่นแล้วก็ตาม หลายทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวที่ทำให้เกาหลีใต้เป็นประเทศอุตสาหกรรมพัฒนาแล้วที่ใช้แนวคิดปิตาธิปไตยให้กลายเป็นสถาบันและเป็นสังคมที่มี ”ลำดับชั้นทางเพศสภาวะ”ที่สูง เป็นรัฐที่มุ่งเน้นแต่ความเป็นชาย รวมถึงการสร้างบรรทัดฐานในสังคมว่าความแตกต่างทางเพศเพียงสองเพศเพียงเท่านั้นจะปกติอีกด้วย แนวคิดหรือความเชื่อเหล่านี้ไม่ได้ถูกชำระล้างด้วยแนวคิดประชาธิปไตย แต่ถูกกระตุ้นด้วยวิกฤติการณ์เศรษฐกิจทั้ง 3 ช่วงเวลาคือ วิกฤติเศรษฐกิจปี 1997, 2008 และวิกฤติการณ์โควิด 19 ล้วน เป็นช่วงเวลากระชากโฉมหน้าแห่งสังคมชายเป็นใหญ่ที่ฝังรากลึกในสังคมเกาหลีถูกขุดขึ้นมาอีกครั้ง และยังเป็นช่วงเวลาที่เปลือกแห่งสังคมปิตาธิปไตยถูกกัดเทาะ ตั้งคำถามต่อสังคมไร้ความเท่าเทียมทางเพศผ่านกลุ่ม “เฟมินิสต์” การมีตัวตนของกลุ่มเฟมินิสต์นี่เอง ที่สร้างความหวาดกลัวหรือภัยคุกคามต่อสังคมชายเป็นใหญ่ และกลัวว่ากลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรีจะพรากสิทธิที่ตนพึงจะได้รับ เพื่อรับมือภัยคุกความหรือความหวาดกลัวดังกล่าวจึงเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม แอนไทเฟมินิสต์ หรือ แอนไทเฟม นั่นเอง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This independent study aims to examine the emergence of anti-feminist ideology among South Korean youth in their 20s and 30s. This backlash is exemplified by the electoral success of Yoon Suk-Yeol, the current conservative president who campaigned on misogynistic promises and garnered popularity among young male voters. Seeking to understand the contemporary right-wing trend in South Korea, this study explores how anti-feminist groups have emerged as a byproduct of nation-building efforts under authoritarian governments amidst the Cold War context, primarily aimed at countering Communist influences, particularly from North Korea.To achieve the goal of neutralizing the Communist threat, leaders like General Park Jung-hee argued that South Korea must first become a modern state, characterized by wealth and military power. This study argues that the formation of the South Korean state was driven by three ideological foundations: 1) Hypermasculinized state, 2) Militarization of masculinity, and 3) Gender Citizenship. These ideologies were further influenced by historical factors, including the impact of Japan's colonial rule, which introduced systems like the Hoju and Hojeok which later on influenced Korean family law. Consequently, societal roles in South Korea have been historically defined by gender, with sectors such as the military industry predominantly occupied by men. This study will demonstrate that Korean society, through industrialization and successive economic crises (1997, 2008, and COVID-19), has sustained patriarchal, androcentric, and heteronormative social norms. These norms have sparked renewed activism, with feminist groups challenging South Korea's patriarchal structures, while anti-feminists have reacted defensively to these changes.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มานะจิตต์, กชกร, "ระบอบชายเป็นใหญ่ในเกาหลีใต้จากยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์สู่ยุคเสรีนิยมใหม่" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10823.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10823