Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
ลักษณะทางคลินิกและตัวชี้วัดทางชีวภาพ ในระยะเฉียบพลัน ของผู้ป่วยกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน และทีอีเอ็น (SJS/TEN) ที่มีผลข้างเคียงรุนแรงทางตา ในประเทศไทย
Year (A.D.)
2020
Document Type
Thesis
First Advisor
Pawinee Rerknimitr
Second Advisor
Jettanong Klaewsongkram
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Clinical Sciences
DOI
10.58837/CHULA.THE.2020.1387
Abstract
Stevens-Johnson syndrome (SJS) and toxic epidermal necrolysis (TEN) are severe cutaneous adverse drug reactions with high mortality rates. Sequelae such as blindness remained even after recovery. Patients with SJS/TEN should be accurately diagnosed and received appropriate treatment as soon as possible. Therefore, factors for severity prediction are necessary. This study aimed to clarify clinical parameters and biological markers that can predict acute severe ocular complications (SOCs) in SJS/TEN. This retrospective cross-sectional study enrolled forty-seven SJS/TEN patients and divided them into two groups according to ocular severity at the acute onset, non-severe ocular complications group (N = 27) and severe ocular complications group (N = 20). Multivariate logistic regression analysis revealed that the disease severity (body surface area detachment ≥ 10%) was identified as a predictive factor for acute SOCs, and older age (≥ 60 years) is marginally significantly as predicting SOCs. When compare biomarkers levels in serum of non-severe and severe ocular complications in SJS/TEN patients, S100A8/A9, and granulysin are marginally significant and tend to increase in the SOCs group. During the early acute stage, focusing on the disease severity, patients' age, and inflammatory biomarkers, i.e., S100A8/A9 and granulysin, might be the predictive factors for the progression of SOCs in SJS/TEN patients who need prompt aggressive ocular management to prevent severe ocular sequelae.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสันและทีอีเอ็น (SJS/TEN) จัดอยู่ในกลุ่มโรคผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง (severe cutaneous adverse drug reactions) ซึ่งมีอัตราการทุพลภาพและเสียชีวิตสูง อาการทางตาพบร่วมได้บ่อยและสามารถรุนแรงได้ถึงขั้นทำให้มีภาวะสายตาเลือนลางหรือตาบอด ดังนั้นคนไข้ที่สงสัยภาวะผื่นแพ้ยาชนิดสตีเวนส์จอห์นสันและทีอีเอ็น ควรได้รับการวินิจฉันอย่างถูกต้องเพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมอย่างรวดเร็วที่สุดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ดังนั้นการหาปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มผู้ป่วยที่จะทำให้มีอาการและผลแทรกซ้อนรุนแรงจึงมีความสำคัญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาลักษณะทางคลินิคและตัวชี้วัดทางชีวภาพ (biomarkers)ในระยะเฉียบพลันของโรค ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยผื่นแพ้ยาชนิดสตีเวนส์จอห์นสันและทีอีเอ็นมีอาการทางตารุนแรง การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลัง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (retrospective cross-sectional study) ศึกษาผู้ป่วยสตีเวนส์จอห์นสันและทีอีเอ็น 47 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามระดับความรุนแรงของอาการทางตา ได้แก่ ผู้ป่วยสตีเวนส์จอห์นสัน และทีอีเอ็นทีมีอาการทางตาไม่รุนแรง (27 คน) และกลุ่มที่มีอาการทางตารุนแรง (20 คน)จากการวิเคราะห์แบบถดถอย (Multivariate logistic regression analysis) พบว่าลักษณะทางคลินิคได้แก่ บริเวณของผิวหนังที่ลอกมากกว่าหรือเท่ากับ 10 % (body surface area detachment ≥ %) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการรุนแรงในตา นอกจากนั้น อายุที่มากกว่า 60 ปี ยังมีนัยสำคัญทางคลินิกและเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสียงเกี่ยวกับอาการรุนแรงทางตา ผลการศึกษาเซรั่ม พบตัวชี้วัดทางชีวภาพ 11 ตัวที่มีระดับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยสตีเวนส์จอห์นสันและทีอีเอ็นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ได้แก่ IP-10, IL-6, IL 17A, SCF, S100A8/A9, MCP-1, ICAM-, PDGF-AA, PDGF-BB, CRP, and OPN ห้าในสิบเอ็ดตัวชี้วัดนี้มีค่าสูงขึ้นเป็นนัยสำคัญทางคลินิคอีกด้วย ได้แก่ IP-10, IL-6, S100A8/A9, PDGF-AA, and PDGF-BB เมื่อวิเคราะห์กลุ่มย่อย เปรียบเทียบผู้ป่วยสตีเวนส์จอห์นสันและทีอีเอ็นทีมีอาการทางตาไม่รุนแรง และกลุ่มที่มีอาการทางตารุนแรง พบว่า ไม่มีตัวชี้วัดทางชีวภาพตัวใดเลยที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่มีอาการทางตารุนแรง แต่ S100A8/A9 และ granulysin มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่มีอาการทางตารุนแรง และอาจใช้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะระบุผู้ป่วยสตีเวนส์จอห์นสันกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงทางตาได้ เพื่อที่จักษุแพทย์จะได้ให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างเหมาะสมและใกล้ชิด ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงทางตาในระยะยาวได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Panpruk, Rawiphan, "Clinical Parameters and Biological Markers associated with Acute Severe Ocular Complications in Stevens-Johnson Syndrome and Toxic Epidermal Necrolysis in Thailand" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10320.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10320