Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และการใช้ฮอร์โมนในสตรีวัยหมดระดูกับภาวะปลายประสาทเสื่อมโดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1999-2004

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

Unnop Jaisamrarn

Second Advisor

Somsook Santibenchakul

Third Advisor

Jakkrit Amornvit

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Clinical Sciences

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.1186

Abstract

Background: Distal sensory neuropathy is a common disorder in the peripheral nervous system. We aimed to investigate the association between reproductive history factors and distal sensory neuropathy among the US postmenopausal women aged 40 years and over. We also explored the heterogeneity of these associations by age. Methods: A cross sectional study was conducted with data from postmenopausal women aged 40 years and over in National Health and Nutrition Examination Survey 1999-2004. Women with diabetes, stroke, cancer, cardiovascular diseases, thyroid disease, liver disease, weak/failing kidneys, or amputation were excluded. Distal sensory neuropathy was measured via 10-gram monofilament test and all reproductive variables and exogenous hormone use were collected by interview questionnaire. A multivariable design-based binary logistic regression was used to analyze the association between the reproductive history variables and distal sensory neuropathy accounting for sample stratification, clustering, and weighting. Heterogeneity was assessed using interaction terms overall and via subgroup analysis. Results: A total of 1144 postmenopausal women were included in this study. Women with distal sensory neuropathy tend to report age at menarche ≤ 11 years (OR = 8.13, 95%CI: 1.24 - 53.28), time since menopause > 20 years (OR = 3.18, 95%CI: 1.32 - 7.68) while those without distal sensory neuropathy tend to report history of breastfeeding (OR = 0.45, 95%CI: 0.21 - 0.99) and exogenous hormone use (OR = 0.41, 95%CI: 0.19 - 0.87). We observed that a significant interaction term of menarche with race (p for interaction = 0.027). Race was also a significant effect modifier for these associations based on subgroup analysis; however, subgroup analysis by age could not be conducted because of large amounts of missing data in older age group (>70 years). Conclusions: Age at menarche, time since menopause, breastfeeding and exogenous hormone use are associated with distal sensory neuropathy. There is race-based heterogeneity in these associations among US postmenopausal women aged 40 years and over. Our findings may provide a rationale for the etiology of distal sensory neuropathy among US postmenopausal women. Further research should investigate the underlying mechanism.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

หลักการและเหตุผล: ภาวะปลายประสาทเสื่อมจัดเป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคระบบประสาทส่วนปลาย งานวิจัยนี้จึงถูกจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และการใช้ฮอร์โมนในสตรีวัยหมดระดูกับภาวะปลายประสาทเสื่อม กลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยศึกษาได้แก่กลุ่มสตรีชาวสหรัฐอเมริกาที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และอยู่ในวัยหมดระดู นอกจากนี้ผู้วิจัยยังศึกษาผลของอายุต่อความสัมพันธ์ข้างต้น วิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยใช้ข้อมูลกลุ่มสตรีวัยหมดระดูชาวสหรัฐอเมริกาจากการสำรวจภาวะสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติ (NHANES) ในช่วงปี ค.ศ. 1999-2004 สตรีที่มีภาวะเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ โรคระบบต่อมไทรอยด์ โรคตับ ภาวะไตวาย รวมถึงสตรีที่ถูกตัดขา จะถูกคัดออกจากงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยใช้ monofilament ขนาด 10 กรัม ตรวจเท้าของอาสาสมัครเพื่อประเมินภาวะปลายประสาทเสื่อม และใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์อาสาสมัครเพื่อประเมินปัจจัยทางด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และการใช้ฮอร์โมน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สมการถดถอยลอจิสติกส์พหุคูณชนิดไบนารีเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านอนามัยการเจริญพันธุ์กับภาวะปลายประสาทเสื่อม โดยแบ่งชั้นตัวอย่าง จัดกลุ่ม และถ่วงน้ำหนักการวิเคราะห์เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะข้อมูลของ NHANES นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาปฏิกริยาร่วมของตัวแปรต่าง ๆ ต่อความสัมพันธ์ตามวัตถุประสงค์หลัก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมในสตรีกลุ่มเฉพาะ ผลการศึกษา: งานวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัคร 1144 ราย ผลการศึกษาพบว่าสตรีที่เริ่มมีระดูที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 ปี มีแนวโน้มพบภาวะปลายประสาทเสื่อมมากกว่า (เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีที่เริ่มมีระดูที่อายุมากกว่า 11 ปี พบว่าค่า OR = 8.13, 95%CI: 1.24 - 53.28) สตรีที่มีจำนวนปีนับเริ่มจากวันที่หมดระดูจนถึงวันที่เข้าร่วมการศึกษายาวนานกว่า 20 ปี มีแนวโน้มพบภาวะปลายประสาทเสื่อมมากกว่า (เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีที่มีจำนวนปีนับเริ่มจากวันที่หมดระดูจนถึงวันที่เข้าร่วมการศึกษาสั้นกว่า 20 ปี พบว่าค่า OR = 3.18, 95%CI: 1.32 - 7.68) สตรีที่มีประวัติเคยให้นมบุตรมีแนวโน้มพบภาวะปลายประสาทเสื่อมน้อยกว่า (เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีที่ไม่มีประวัติเคยให้นมบุตร พบว่าค่า OR = 0.45, 95%CI: 0.21 - 0.99) สตรีที่มีประวัติเคยใช้ฮอร์โมนพบภาวะปลายประสาทเสื่อมน้อยกว่า (เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีที่ไม่มีประวัติเคยใช้ฮอร์โมน พบว่าค่า OR = 0.41, 95%CI: 0.19 - 0.87) ผลการวิเคราะห์พบปฏิกริยาร่วมระหว่างอายุที่เริ่มมีระดูและเชื้อชาติ (ค่า p เท่ากับ 0.03) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มย่อยผู้วิจัยพบว่าเชื้อชาติเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลร่วมต่อความสัมพันธ์ข้างต้น เนื่องจากติดปัญหาเรื่องข้อมูลสูญหายในกลุ่มสตรีที่อายุมากกว่า 70 ปี ผู้วิจัยจึงไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งตามกลุ่มอายุได้ ข้อสรุป: สตรีที่เริ่มมีระดูตั้งแต่อายุน้อย สตรีที่มีจำนวนปีนับเริ่มจากวันที่หมดระดูจนถึงวันที่เข้าร่วมการศึกษายาวนาน อาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะปลายประสาทเสื่อม สตรีที่มีประวัติเคยให้นมบุตรและประวัติเคยใช้ฮอร์โมนตรวจพบภาวะปลายประสาทเสื่อมน้อยกว่าสตรีที่ไม่เคยให้นมบุตรและไม่มีประวัติใช้ฮอร์โมน เชื้อชาติเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ข้างต้น ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพื่อหาสาเหตุของภาวะปลายประสาทเสื่อมในสตรีวัยหมดระดูชาวสหรัฐอเมริกา

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.