Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การหาตัวแปรพยากรณ์โรค invasive fungal rhinosinusitis ในผู้ป่วยเบาหวาน

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

Kornkiat Snidvongs

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Clinical Sciences

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.151

Abstract

ภูมิหลัง ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสที่จะเกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานได้ง่ายกว่าผู้ป่วยปกติ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ในผู้ป่วยเบาหวานมีความหลากหลายค่อนข้างสูงในแต่ละการศึษา วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่จะทำนายอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกราน วิธีการศึกษา การศึกษาแบบย้อนหลังนี้ได้จัดทำในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 4 แห่ง ในประเทศไทย, มาเลเซีย และเมียนมาร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกราน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 ถึง ค.ศ.2019 ผลที่ต้องการศึกษาคืออัตราการรอดชีวิต ปัจจัยทำนายที่นำมาวิเคราะห์ ได้แก่ อายุ, ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในเลือด, ภาวะเลือดเป็นกรดคีโต, ระดับเม็ดเลือดขาว, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง, ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน, การใช้ยารักษาเบาหวานในปัจจุบัน, ระดับครีเอทีนีนในเลือด, และการกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าไปที่ตา, คาเวอร์นัสไซนัส และโพรงสมอง ผลการศึกษา มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกราน 65 ราย (อายุเฉลี่ย 57.9±13.4 ปี, เพศชาย 60%) ผลพบว่า อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 21.5 % โดยพบว่าการกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าคาเวอร์นัส ไซนัส (hazard ratio 5.1, 95% CI [1.4–18.2], p=0.01) และโพรงสมอง (hazard ratio 3.4, 95% CI [1.1–11.3], p=0.05) เป็นปัจจัยทำนายอัตราการเสียชีวิต ส่วนการรักษาเบาหวานเป็นปัจจัยที่ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต (hazard ratio 0.2, 95% CI [0.1–0.9], p=0.03) ด้านอัตราการรอดชีวิตในระยะเวลา 6 เดือนในผู้ป่วยที่มีการกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าไปและไม่เข้าไปที่คาเวอร์นัสไซนัสอยู่ที่ 51.4% และ 83.6% ตามลำดับ, (p <0.01), เข้าไปและไม่เข้าไปที่โพรงสมองอยู่ที่ 53.3% และ 88.9% ตามลำดับ, (p <0.01) และมีการใช้ยารักษาเบาหวานและไม่มีการใช้ยารักษาเบาหวานอยู่ที่ 82.3% และ 57.5% ตามลำดับ, (p =0.05) สรุป การกระจายของโรคไซนัสอักสบจากเชื้อราชนิดรุกรานเข้าไปที่คาเวอร์นัสไซนัสและโพรงสมองเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน การรอดชีวิตมีความสัมพันธ์กับการใช้ยารักษาเบาหวานในปัจจุบัน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: Patients with diabetes mellitus (DM) are susceptible to invasive fungal rhinosinusitis (IFRS). The mortality rate of IFRS varies greatly among the patients with DM. Objective: To identify the prognostic factors for the overall survival of patients with DM and IFRS. Methods: A retrospective study was conducted in four tertiary hospitals in Thailand, Malaysia and Myanmar. Patients diagnosed with IFRS and DM from 2008 to 2019 were identified. The outcome was the overall survival. Variables analyzed for risk factors were age, HbA1C level, ketoacidosis, white blood cell count, hyperglycemia, duration of DM, current use of diabetic medications, serum creatinine level, and the extensions of IFRS to the orbit, the cavernous sinus and intracranial cavity. Results: Sixty-five diabetic patients with IFRS (age 57.9±13.4 years, male 60%) were identified. The mortality rate was 21.5%. The extensions of IFRS to the cavernous sinus (hazard ratio 5.1, 95% CI [1.4–18.2], p=0.01) and intracranial cavity (hazard ratio 3.4, 95% CI [1.1–11.3, p=0.05) predicted mortality. Current use of diabetic medications decreased the mortality risk (hazard ratio 0.2, 95% CI [0.1–0.9], p=0.03). The 6-month overall survival of the patients with and without the cavernous sinus extension were 51.4% and 83.6%, (p <0.01), with and without intracranial extension 53.3% and 88.9%, (p<0.01), and with and without current diabetic medications 82.3% and 57.5%, respectively (p=0.05). Conclusion: The extensions of IFRS to the cavernous sinus and intracranial cavity increased the risk of death in patients with DM. Survival was primarily related to current use of diabetic medications.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.