Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The media usage of employees in PR & communications consultant companies and their attitude towards the work-life balance

Year (A.D.)

2022

Document Type

Independent Study

First Advisor

ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิเทศศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.IS.2022.236

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อในกลุ่มพนักงานที่ปรึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์และทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงาน โดยต้องการสำรวจพฤติกรรมของพนักงานองค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานการวางแผนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพภายในองค์กร และต้องการให้การทำงานของพนักงานภายในองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุขในการทำงาน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่ทำงานในองค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ จำนวน 200 คน ทั้งหมด 3 ระดับ แบ่งเป็นพนักงานระดับผู้บริหาร จำนวน 40 คน ระดับกลาง 80 คน และระดับต้น จำนวน 80 คน เพื่อเป็นการวิจัยนำร่อง ผลการศึกษาจากงานวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ปรึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 200 คน เป็นเพศหญิงมากที่สุด ทำงานในสายงาน Account Management และมีอายุการทำงานระหว่าง 5-10 ปี มีความถี่โดยรวมในการใช้สื่อภายในองค์กรในระดับใช้งานเป็นประจำในทุกวัน (ค่าเฉลี่ย=3.85) ผ่านโปรแกรมส่งข้อความแบบทันที (Instant Messaging Program) เป็นประจำและบ่อยครั้งมากต่อวัน (ค่าเฉลี่ย=4.60) ในเวลาทำงานช่วงเช้า (09.00 - 12.00 น.) เป็นอันดับ 1 โดยมีระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการใช้สื่อประมาณ 8-12 ชั่วโมงต่อวันผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทมากที่สุด และพึงพอใจในการใช้งานสื่อภายในองค์กรโดยรวมในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=3.88) ซึ่งพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรมส่งข้อความแบบทันที (Instant Messaging Program) ในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=4.15) เช่นเดียวกัน ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงานโดยรวมเป็นบวกและมีความสมดุลในการทำงานมาก (ค่าเฉลี่ย=3.61) โดยเฉพาะด้านความผูกพันจิตใจ (ค่าเฉลี่ย=3.69), ด้านความพึงพอใจ (ค่าเฉลี่ย=3.58) และด้านเวลา (ค่าเฉลี่ย=3.56) ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การใช้สื่อในกลุ่มพนักงานขององค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงานในสายวิชาชีพประชาสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน=0.094) และกลุ่มพนักงานขององค์กรที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ที่มีอายุงานแตกต่างกัน มีการใช้สื่อในที่ทำงานที่ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เช่นเดียวกับทัศนคติต่อความสมดุลในการทำงานในสายวิชาชีพประชาสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this research is to study the media usage of employees and their attitude towards the work-life balance for the internal communications planning under the PR and communications consultant organization to ensure the smooth of the workflow and maximize teamwork efficiency while employee’s satisfaction on work-life balance remains positive. The total 200 respondents are divided into 3 groups which are executive level of 40 people, mid-level 80 people and beginning level of 80 people for pilot research. The results of the research shown that most of the demographic characteristics of total 200 respondents are female working under account management with mid-working level (around 5-10 years) with frequency of media usage at everyday (average=3.85) though instant messaging program at many times per day (average=4.60) mostly during morning period from 9.00 – 12.00 via company’s PC and satisfied with media usage (average=3.88) with instant messaging program (average=4.15). The attitude towards the work-life balance results is positive (average=3.61) especially on involvement balance (average=3.69) followed by satisfaction balance (average=3.58) and time balance (average=3.56), respectively. The results of the hypothesis is rejected and the conclusion would be that there is no significant relationship between the media usage of employees and their attitude towards the work-life balance with statistical significance value at 0.05 (Pearson correlation coefficient=0.094) and there is no difference between the employees in PR and communications consultant companies’ work experience and their media usage at statistical significance value at 0.05 as well as the attitude towards the work-life balance with statistical significance value at 0.05.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.