Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายการเงินและภาษีอากร

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.201

Abstract

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทย ซึ่งประสบปัญหาจากการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมที่ขาดประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหาในหลายประการ ตลอดจนศึกษาถึงแนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของต่างประเทศ ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะรัฐนิวเจอร์ซี่ รัฐนิวยอร์ก รัฐมิชิแกน และรัฐแอริโซน่า เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาระบุให้เห็นอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทยมีการกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาจำนวนต้นไม้และชนิดต้นไม้ที่ปลูกต่อไร่ก่อให้เกิดปัญหาการบังคับใช้ที่ขาดความชัดเจน ขัดต่อหลักภาษีอากรที่ดี และขัดต่อวัตถุประสงค์ของการบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ. 2562 ในหลายประการ พร้อมทั้งก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ อนึ่ง จากการศึกษาและพิจารณาหลักเกณฑ์ของต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว คือสหรัฐอเมริกา พบว่าหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของต่างประเทศได้มีการกำหนดให้ครอบคลุมถึงประเด็นปัญหาประการต่างๆของประเทศไทยไว้ ด้วยเหตุตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้ประเทศไทยนำหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของต่างประเทศคือ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมืองมาปรับใช้กับหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทย เพื่อให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนหลักเกณฑ์ในการกำหนดการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมของประเทศไทยเป็นหลักเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ มีความชัดเจนในการจัดเก็บภาษีมากขึ้น

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.