Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศารทูล สันติวาสะ

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.171

Abstract

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มีการจัดเก็บภาษีแยกตามประโยชน์การใช้งาน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมหรือที่ อยู่อาศัย เช่น พาณิชยกรรม และที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทําประโยชน์ตามควรแก่สภาพ โดยที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมจะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่ําที่สุด และที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างรกร้างว่างเปล่า จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงที่สุด ทําให้เจ้าของที่ดินบางส่วนเลี่ยงภาระภาษี โดย การทําการเกษตรเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง ประกอบกับเงื่อนไขที่ไม่รัดกุมของการใช้สิทธิที่ดินเพื่อการเกษตร ทําให้ทุก คนสามารถใช้สิทธิที่ดินเพื่อการเกษตรและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้และมีเจ้าของที่ดินจํานวนหนึ่ง หลีกเลี่ยง ภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยการทําเกษตรเทียม โดยอาศัยเงื่อนไขการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรของประเทศไทย ที่มี เงื่อนไขของการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่ไม่ซับซ้อน สามารถปฏิบัติได้ง่าย มีเพียงการกําหนดลักษณะของกิจกรรมที่ จะถือว่าเป็นกิจกรรมทางการเกษตร เช่น การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และปริมาณการปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่อ ขนาดที่ดิน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าการทําเกษตรดังกล่าวเป็นการทําเกษตรจริงๆหรือไม่ จากการศึกษากฎหมายของต่างประเทศ เช่น มลรัฐนิวส์เจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น พบว่าประเทศเหล่านี้ล้วนมีข้อกําหนดที่เข้มงวดเพื่อพิสูจน์สถานะของที่ดินที่ขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อ การเกษตร สําหรับประเทศไทยควรมีข้อกําหนดเพิ่มเติมที่จะใช้ในการพิจารณาที่ดินเพื่อการเกษตร เพราะ เป็นการ รักษาผลประโยชน์ของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม และลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.