Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.169

Abstract

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของแนวทางการปรับเปลี่ยนพิกัดและการจัดเก็บภาษีสําหรับ เครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการนํามาปรับใช้ในการจัดเก็บภาษีสําหรับเครื่องดื่ม มอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ของประเทศไทยได้ อันเนื่องมาจากกรมสรรพสามิตพิจารณาที่จะเพิ่มพิกัดทางภาษีของ เครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ให้สูงกว่าปกติที่มีพิกัดภาษีอัตราร้อยละ 14 แต่จะไม่ปรับเพิ่มเกินร้อยละ 22 จาก มุมมองว่าเครื่องดื่มมอลต์ไม์มีแอลกอฮอล์นี้อาจเป็นสาเหตุให้เยาวชนหรือผู้บริโภคทั่วไปมีแรงจูงใจในการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเครื่องดื่มประเภทดังกล่าวเสียภาษีในอัตราร้อยละ 14 เช่นเดียวกับกลุ่ม เครื่องดื่มที่ให้ความหวานและเครื่องดื่มประเภทน้ําอัดลม เนื่องจากเครื่องดื่มดังกล่าวไม่มีแอลกอฮอล์ หรือมีแต่ไม่ ถึงร้อยละ 0.5 จึงจัดเป็นประเภทเครื่องดื่มตามคํานิยามตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจะปรับพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ให้เพิ่มขึ้น จะเป็น การขัดแย้งกับคํานิยามตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 อีกทั้งจะส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ถือ เป็นการตัดทางเลือกของผู้บริโภคที่ในปัจจุบันหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การบริโภคเครื่องดื่มมอลต์ไม่มี แอลกอฮอล์จะสามารถทดแทนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้และจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ และช่วยแก้ปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยให้ลดลงได้ จากการศึกษาผู้เขียนได้นําหลักการของภาษีสรรพสามิตสําหรับเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ของ ประเทศเยอรมนีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นแนวทางแก้ไขการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศ ไทย ซึ่งมีทั้งแนวทางที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้และไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ โดยแนวทางที่สามารถนํามา ประยุกต์ใช้ได้ คือ การกําหนดคํานิยามที่ชัดเจนในส่วนของปริมาณแอลกอฮอล์ที่หากมีปริมาณแอลกอฮอล์น้อย กว่าร้อยละ 0.5 ก็จะไม่จัดว่าอยู่ในนิยามของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ต้องจัดเก็บภาษีตามอัตราภาษีของเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ แต่ในทางกลับกันแนวทางที่ไม่สามารถประยุกต้ใช้ได้ คือ การที่เครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ใน ประเทศเยอรมนีไม่ถูกจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในส่วนของประเภทเครื่องดื่ม ซึ่งอาจทําให้เป็นการส่งเสริมให้ ผู้บริโภคบริโภคเครื่องดื่มที่ฟุ่มเฟือย โดยจะขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตที่จะจํากัดการ บริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยทําให้เกิดความยุติธรรมในระบบภาษี จึงไม่สามารถนําหลักการของประเทศเยอรมนีในส่วนนี้ มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์สําหรับประเทศไทยนั้น ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางให้มีการปรับปรุงพัฒนาการจัดเก็บภาษีสําหรับเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์และให้มี มาตรการรองรับเกี่ยวกับเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ คือ ส่วนของพิกัดอัตราภาษีที่หากจะเปิดพิกัดภาษีใหม่ สําหรับเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ํากว่า 0.5 ดีกรีหรือเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์นี้ อาจทําให้มี ผลกระทบต่อสินค้าประเภทอื่น เช่น ยารักษาโรคบางชนิดที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ผสมอยู่ เป็นต้น และส่วนของ นโยบายเพื่อควบคุมเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งควรมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ กําหนดมาตรการการควบคุมเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ชัดเจน ทั้งในด้านฉลากสินค้า ด้านการโฆษณา และ ด้านการควบคุมการเข้าถึง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและสังคมไทย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.