Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.166

Abstract

แรงงานถือเป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ หากแรงงานมีความรู้ มี ทักษะสูงย่อมส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใน ภาพรวม ทั้งนี้มีบางประเทศที่มีความต้องการแรงงานจากประเทศต่างๆเข้ามาทํางานในประเทศตน เพื่อทําให้เศรษฐกิจในประเทศเจริญเติบโตก้าวหน้าต่อไป ทําให้แรงงานในบางประเทศมีความประสงค์ จะย้ายถิ่นในการทํามาหากิน โดยปัจจัยต่างๆนั้นมาจากการที่ประเทศต้นทางไม่ตอบสนองต่อความ ต้องการเท่ากับประเทศปลายทางที่แรงงานย้ายถิ่นจะไปประกอบอาชีพ ในการเคลื่อนย้ายแรงงานนั้น จะต้องมีบริบทที่เป็นมาตรฐานที่ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปตามหลักการรวมกลุ่มทาง ภูมิภาค ซึ่งตามหลักการทางการรวมกลุ่มทางภูมิภาคนั้น ประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายแรงงานจะ เกิดขึ้นได้จริงก็ต่อเมื่อมีการกําหนดหลักประกันที่สําคัญและนํามาใช้ได้จริง เช่น การมีหลักประกันทาง สังคมและความมั่นคง เป็นต้น การรวมกลุ่มทางภูมิภาคนั้นไม่ใช่แค่เป็นการรวมกลุ่มแค่ในประเทศที่ พัฒนาแล้ว ในฝั่งเอเชียก็มีการรวมกลุ่มทางภูมิภาคขึ้นนั้นคือ การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่ง เป็นการรวมกลุ่มของสิบประเทศสมาชิก เพื่อเป็นการพัฒนา เสริมสร้างการค้า การเคลื่อนย้ายแรงงาน ได้อย่างเสรี ในการเคลื่อนย้ายแรงงานของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจากประเทศต้นทางไปยังประเทศ ปลายทาง เมื่อแรงงานมีการย้ายถิ่นไปทํางานที่ประเทศปลายทาง แรงงานย้ายถิ่นย่อมต้องเผชิญกับ ความไม่มั่นคงทางสังคม ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านวัฒนธรรมและความเสี่ยงภัยต่าง ๆ ใน ระหว่างทํางาน การคุ้มครองทางสังคมจึงเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการย้ายถิ่น เพื่อให้แรงงานย้ายถิ่นมี ความคุ้มครอง เป็นการสร้างความมั่นคงทางสังคมให้แก่แรงงานเมื่อต้องย้ายไปทํางานในต่างประเทศ การคุ้มครองทางสังคมที่สําคัญแก่แรงงาน คือ เรื่องของการประกันสังคม จากการศึกษาพบว่าระบบประกันสังคมของสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียนให้สิทธิแรงงาน ข้ามชาติไม่เท่าเทียมกับแรงงานในประเทศของตน หรือบางประเทศไม่ให้สิทธิประโยชน์กับแรงงาน ข้ามชาติเลย ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อกําหนดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตามอนุสัญญา ฉบับที่ 102 ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ําที่แรงงานควรได้รับ และตามอนุสัญญาฉบับที่ 118 ว่าด้วยการ ปฏิบัติที่เท่าเทียม (ประกันสังคม) และอนุสัญญาฉบับที่ 157 ว่าด้วยสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ดังนั้นการที่จะทําให้การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมีประสิทธิภาพ มากขึ้น จําเป็นต้องมีการร่วมกันพัฒนา ทบทวน ปรับปรุงระบบความมั่นคงให้มีความชัดเจน

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.