Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

ประเสริฐ โหล่วประดิษฐ์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายการเงินและภาษีอากร

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.167

Abstract

รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาปัญหาการกําหนดมูลค่าขั้นต่ำของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินที่กําหนดให้ถูกจัดเก็บ และระยะเวลาการจัดเก็บภาษีตามร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์ฯ เพื่อเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมในลักษณะเดียวกันของประเทศโปแลนด์และประเทศอังกฤษและพิจารณาแนวทางการจัดเก็บ เพื่อนํามาปรับปรุงแก้ไขการกําหนดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์และการกําหนดกรอบระยะเวลาตามร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์ฯ ให้มีความเหมาะสมและเป็นไปตามหลักการผลประโยชน์และหลักอํานวยรายได้ให้แก่รัฐ จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า ในการกําหนดเงื่อนไขจัดเก็บภาษีตามร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์ฯ มาตรา 6 (2)(ก) ที่กําหนดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต้องมีมูลค่าที่เกินกว่า 50 ล้านบาท จึงจะถูกจัดเก็บภาษี ทําให้มีอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินจำนวนมากที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่อยู่ในเขตรัศมีที่ถูกกําหนดให้จัดเก็บภาษีและได้รับประโยชน์จากการที่รัฐพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของรัฐ แต่ไม่อยู่ในขอบเขตต้องเสียเก็บภาษี ซึ่งขัดกับหลักการผลประโยชน์ เนื่องจากที่ดินเหล่านั้นมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทตามที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กําหนดไว้ เห็นควรแก้ไขบทบัญญัติมาตราดังกล่าวไม่ให้นํามูลค่าขั้นต่ำมาเป็นเงื่อนไขในการจัดเก็บภาษี เพราะภาษีการได้รับประโยชน์ฯ ต้องการจัดเก็บเพื่อนําไปเป็นรายได้ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ ซึ่งใช้เงินทุนจํานวนมากในการก่อสร้างและดําเนินการ อีกทั้งการจัดเก็บภาษีทําเพียงครั้งเดียว จึงไม่ควรกําหนดเงื่อนไขที่ทําให้ฐานภาษีแคบเกินไปและไม่อํานวยรายได้ให้แก่รัฐ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ต้องการจัดเก็บอีกด้วย และปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือเงื่อนไขตามามาตรา 6 (2) เรื่องระยะเวลากําหนดหน้าที่ผู้เสียภาษีโดยให้เสียภาษีภายใน 30 วัน นับแต่โครงการของรัฐแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สร้างภาระภาษีให้แก่ตัวผู้เสียภาษีเนื่องจากระยะเวลาสั้นเกินไป เมื่อเทียบกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการกําหนดระยะเวลามากกว่า ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแจ้งผู้เสียภาษีหรือระยะเวลาการชําระภาษี เห็นควรกําหนดกรอบระยะเวลาการจัดเก็บภาษีให้มากกว่าที่กําหนดไว้ในมาตรา 6 (2) และควรมีกระบวนการแจ้งผู้เสียภาษีให้เตรียมตัวเสียภาษีให้ชัดเจนมากขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกแก่ตัวผู้เสียภาษี

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.