Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

พล ธีรคุปต์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.154

Abstract

เนื่องจากในระหว่างปี พ.ศ. 2563 ทั่วโลกได้เผชิญกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดไปอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทำให้ส่งผลกระทบทั้งต่อวิถีการ ดำรงชีวิตของผู้คนทั่วไป รวมไปถึงสภาพเศรฐกิจของแต่ละประเทศก็ได้รับกระทบเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกัน ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการอย่างมาก ทั้งในด้านการลงทุนจากในประเทศและนอกประเทศ การท่องเที่ยวที่ซบเซา ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มหยุดชะงักไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยความเสียหาย จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อเศรษฐกิจนั้นกระทบภาคธุรกิจหลายกิจการทั้งใน ส่วนของภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรมที่มีการปิดตัวลง ทำให้เกิดการเลิกจ้างแรงงาน จะเห็นว่าจากผลกระทบในส่วนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ลามมากระทบในส่วนของภาคประชาชน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ทางรัฐบาลจึงได้มีเร่งออกมาตรการช่วงเหลือต่างๆ ทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีเม็ดเงินไหลเวียนใน ระบบเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นการช่วยเหลือบรรเทาในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบให้สามารถดำเนิน กิจการต่อไปได้แต่อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ยังคงมีการระบาด อย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน และไม่มีสัญญาณว่าจะบรรเทาลงในเร็ววัน จึงได้ มีการศึกษามาตรการทางภาษีเงินได้ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 ของต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง กับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษามาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย และศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 ของประเทศออสเตรเลียและเมียนมา เพื่อจะนำแนวทางมาตรการทางภาษีมาปรับ ประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบัน โดยจากการศึกษาพบว่ามาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยยังมีบางมาตรการ ที่มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้สิทธิประโยชน์ไม่ชัดเจน ให้สิทธิประโยชน์ในทรัพย์สินแค่บางประเภท บางกลุ่มธุรกิจ หรือให้สิทธิประโยชน์สำหรับการจ้างแรงงานเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก จาการกล่าวมาจึง จะเห็นได้ว่ามาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ประกาศใช้แล้วในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพ และความชัดเจนเพียงพอในการส่งเสริมการลงทุน รวมไปถึงไม่ได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตมาก เท่าที่ควร ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางมาตรการทางภาษีประเทศออสเตรเลียและประเทศเมียนมาบาง มาตรการมาปรับประยุกต์ใช้ในส่วนของการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น โดยมาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนในทรัพย์สินที่ควรจะส่งเสริมการลงทุนในทุก ประเภทของทรัพย์สินและทุกกลุ่มธุรกิจ รวมถึงการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในทรัพย์สินและ การจ้างแรงงานที่สามารถให้ตัดรายจ่ายได้มากขึ้นในปีที่ธุรกิจประสบกับสภาพเศรษฐกิจในสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมการลงทุนและการกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้ว ยังเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีและยังช่วยให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนในบริษัทมากขึ้นอีกด้วย เพื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนั้น ๆ จะได้ดำเนินกิจการผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจนี้ไปได้

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.