Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.143

Abstract

ปัจจุบันการเติบโตของธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จากความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการมีสุขภาพที่ดีขึ้น รูปร่างที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่เห็นถึงความต้องการเหล่านี้ รวมถึงผู้ประกอบการจากธุรกิจอื่น ๆ ที่เห็นการเติบโตของความต้องการของตลาดธุรกิจอาหารเสริม นั่นเป็นที่มาที่ทำให้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกิดขึ้นมากมายในท้องตลาด เมื่อสินค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นมาในท้องตลาด จึงเกิดการแข่งขันกันในการขายสินค้าหรือแข่งขันกันในด้านการแย่งผู้บริโภคที่มีอยู่จำกัดเมี่อเปรียบเทียบกับจำนวนของผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์สินค้าในท้องตลาด โดยการแข่งขันกันของผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารเสริมคือการเข้าถึงผู้บริโภคหรือให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าของตนเองให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้นั้น หนึ่งในเครื่องมือที่สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร หรือเนื้อหาของสินค้าไปถึงผู้บริโภคได้คือการโฆษณา ในปัจจุบันนอกจากการโฆษณาผ่านป้ายโฆษณา ทีวี หรือวิทยุกระจายเสียงแล้วนั้น การเกิดขึ้นของสื่อออนไลน์ที่มีจำนวนผู้ใช้บริการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์นั้นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น และเป็นเครื่องมือที่สามารถที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคที่ต้องการได้ ซึ่งเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการสินค้าจำพวกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการใช้สื่อเหล่านี้ ในการโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้อื่นใช้สินค้า ซึ่งข้อดีที่เกิดขึ้นคือผู้ประกอบการรายย่อยหรือรายเล็กที่ไม่ได้มีต้นทุนจำนวนมาก สามารถที่จะสร้างธุรกิจของตนเองได้ โดยผลิตสินค้าแล้วใช้ช่องทางออนไลน์ในการโฆษณาสินค้าของตนเองไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งต้นทุนในการโฆษณานั้นต่ำกว่าการโฆษณาผ่านช่องทางทีวี วิทยุ หรือแผ่นป้ายโฆษณาในสมัยก่อน แต่อย่างไรก็ตามในข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียเกิดขึ้น โดยผู้ประกอบการบางรายมีการใช้คำโฆษณาชวนเชื่อ ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง จนทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย จากโฆษณาชวนเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์เหล่านี้ เนื่องจากมีต้นทุนการโฆษณาที่ต่ำ และสามารถที่จะนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่การโฆษณาต่าง ๆ นั้นต้องผ่านบริษัทโฆษณาจำพวกทีวี วิทยุ หรือป้ายโฆษณา ซึ่งต้องมีการตรวจสอบในส่วนของเนื้อหาสำหรับการโฆษณาโดยละเอียด แต่ปัจจุบันนั้นการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์นั้นไม่ได้มีขั้นตอนในส่วนนี้ ทำให้เกิดการโฆษณาเพื่อจูงใจลูกค้าหรือผู้บริโภคด้วยสรรพคุณสินค้าที่เกินความจริงเกิดขึ้น แม้ว่ากฎหมายจะมีมาตรการในการตรวจสอบและลงโทษผู้ที่กระทำความผิดแต่เหมือนว่ากฎหมายและบทลงโทษที่มีในปัจจุบันจะไม่สามารถที่จะควบคุมหรือป้องกันการโฆษณาที่เกินความจริงได้ โดยในกรณีที่เกิดขึ้นล่าสุดนั้นมีพิธีกรท่านหนึ่งที่ทำการโฆษณาสินค้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของตนเองผ่านช่องทางออนไลน์เฟสบุ๊ค โดยมีการรีวิวและอวดอ้างสรรพคุณที่เกินความจริงของสินค้า ต่อมาได้ถูกแจ้งข้อหาทางกฎหมายในการกระทำความผิดดังกล่าว ซึ่งจากการสืบประวัติพบว่าพิธีกรท่านนี้ได้ถูกดำเนินการแจ้งข้อหาเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าเกินความจริงซ้ำเป็นคดีที่ 8 แล้ว เป็นการกระทำความผิดเดิมซ้ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นว่ากฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการให้ผู้กระทำความผิดเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้าที่จะกระทำความผิดหรือกระทำความผิดเดิมซ้ำ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.