Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.129

Abstract

การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่รวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป ใน หลายๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงการทำธุรกรรมต่างๆ ในปัจจุบันที่มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกรรมจากการ ติดต่อโดยตรง ไปสู่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เนื่องจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีความ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีสถานะทางกฎหมาย จึงมีการตรา พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมขึ้น มีเจตนารมณ์เพื่อรับรอง การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมการทำธุรกรรมของผู้ประกอบการเอกชนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการมุ่งศึกษาปัญหาของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส พ.ศ. 2544 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมเบื้องต้นในการปรับปรุงเพิ่มเติมแก้ไขกฎหมายและ แนวทางการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม ในมุมมองของภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ พบว่า ผู้ประกอบการเห็นถึงความจำเป็นของการ ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม แต่ในมิติของการบังคับ ใช้กฎหมายพบว่า พบว่า ปัจจุบันกฎหมายยังไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความไม่พร้อม ของภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ สามารถรับรองธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดย ผลักดันภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้สร้างความตระหนักรู้ให้แก่บุคลากรภาครัฐในหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจ รวมไปถึงความจำเป็นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การรับรองพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้การปฏิบัติจริงสอดคล้องกับกับเจตนารมณ์ทางกฎหมาย แม้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีเจตนารมณ์เพื่อรองรับผลทางกฎหมายของ ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความเท่าเทียมทางกฎหมายให้เท่าเทียมกับข้อความที่อยู่ในรูปของ เอกสารกระดาษ การเพิ่มเติมส่วนของกระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมายให้ชัดเจนมากขึ้น โดยการมีหลักเกณฑ์ที่ ชัดเจนในการเปรียบเทียบระหว่างผลกระทบและผลสัมฤทธิ์ รวมถึงแนวทางในการนำผลสัมฤทธิ์มาไปพิจารณา ต่อไป การส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัลและธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนและ ส่งเสริมการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ หน่วยงานรัฐควรมีการ ส่งเสริมและสนันสนุนให้ผู้ประกอบการมีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ผู้ประกอบการ โดยออกแนวทางหรือมาตรฐานที่ครอบคลุมและมีความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละธุรกิจ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.