Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

ประภาศ คงเอียด

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายการเงินและภาษีอากร

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.151

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นกรณีศึกษาการนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันของแผนปฏิบัติการโครงการป้องกันการถูกกัดกร่อนฐานภาษีและการโอนกำไรไปต่างประเทศ แผนปฏิบัติการที่ 13 มาใช้กับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโดยตรงเนื่องจากการไม่ยื่นแบบรายงานข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต บริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตบางรายอาจใช้ช่องว่างกำหนดราคาโอนเพื่อเลี่ยงภาษีโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีมีข้อสงสัยว่าอาจมีการโอนกำไรหรือสินทรัพย์บริษัทในเครือเดียวกัน จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีการนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมาใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 ทวิ และ 71 ตรี แต่ไม่ใช้บังคับกับนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมีรายได้น้อยกว่าสองร้อยล้านอีกทั้งกรมสรรพสามิตยังไม่ได้นำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้โดยตรง จึงก่อให้เกิดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทย ทั้งนี้ ยังไม่มีประเทศใดที่นำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลดังกล่าวมาใช้กับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโดยตรงก็อาจเป็นช่องว่างให้กำหนดราคาโอนได้ แต่อย่างไรก็ตาม องค์กรเครือข่ายยุติธรรมทางภาษีได้เสนอให้นำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตด้วย ดังนั้น สำหรับประเทศไทย หากนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลตามประมวลรัษฎากรประกอบกับการกำหนดบุคคลตามกฎหมายศุลกากรมาปรับใช้กับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ก็อาจลดปัญหาการเลี่ยงภาษีโดยการกำหนดราคาโอนที่เกิดขึ้นได้

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.