Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

สำเรียง เมฆเกรียงไกร

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.148

Abstract

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่ง พัสดุภัณฑ์โดยเอกชน เนื่องจากมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์ใน ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใดเป็นการเฉพาะในการก ากับดูแลหรือควบคุมท าให้ผู้บริโภคเสียเปรียบและ ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงสมควรกำหนดแนวทางหรือบทบัญญัติของกฎหมายในการคุ้มครอง ผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคจากในยุคดิจิทัล มีแนวโน้มการซื้อขายสินค้าและ บริการเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่เป็นการซื้อขายแบบหน้าร้าน สู่ยุคการตลาดแบบออนไลน์ โดยการซื้อ สินค้าผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ การขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce ส่งผลให้ความต้องการ บริการ E-Logistics เพิ่มขึ้น มูลค่าการประกอบธุรกิจแบบการขายสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค โดยตรงมีมากขึ้น ส่งผลให้การจัดตั้งธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าใน ปัจจุบัน ผู้ประกอบการแต่ละรายมีการแข่งขันกันในด้านราคาเพื่อดึงดูดผู้บริโภค ซึ่งอัตราค่าบริการ ขนส่งพัสดุโดยเฉลี่ยมีการปรับลดลงในแต่ละปี รวมถึงการแข่งขันกันด้านบริการและความรวดเร็วใน การจัดส่งพัสดุภัณฑ์ แต่ก็ยังปรากฏปัญหาของผู้บริโภคซึ่งมีการร้องทุกข์เกี่ยวกับการใช้บริการรับส่ง พัสดุภัณฑ์ต่อส านักงานคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในทุกปี และปัญหาอื่นๆขึ้นตามที่ปรากฏเป็นข่าวทาง สื่อต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่าธุรกิจบริการรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชนนั้น กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ ในปัจจุบันไม่ได้ครอบคลุมถึงการกำกับดูแลกิจการซึ่งก าลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้เขียนจึงศึกษา กฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการรับส่ง พัสดุภัณฑ์โดยเอกชน ในลักษณะเป็นการป้องกันปัญหาและลดความเสี่ยงที่อาจถูกเอาเปรียบจาก ผู้ประกอบการ ผู้เขียนเสนอให้ การประกอบธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชน อยู่ในการกำกับดูแลของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานหลัก และเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ. 2477 ให้มีการก าหนดบทบัญญัติทางกฎหมายที่จะก ากับดูแลการ ดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งของรัฐเอกชนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.