Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

ภูมิศิริ ดำรงวุฒิ

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.131

Abstract

บริษัทหลักทรัพย์ถือเป็นหัวใจหลักของตลาดทุน เป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน การลงทุน ย่อมมีความสําคัญกับประชาชนทั่วไป ในการจัดการเงินออม เพื่อให้เกิดผลงอกเงย โดยตลาดทุนเป็น กลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในองค์รวม ตลาดทุนจึงเป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนและ เป็นทางเลือกในการออม สําหรับประชาชน นอกเหนือจากตลาดเงิน จึงทําให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ สําคัญของประเทศอีกแห่งหนึ่ง โดยในส่วนของผู้แนะนําการลงทุนผู้ซึ่งทําหน้าที่ในบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้คําแนะนําในการลงทุนกับผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยภายใต้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนํา การลงทุนในการให้คําแนะการลงทุนต่อผู้ลงทุน ผู้แนะนําการลงทุนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐาน การปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้ กําหนดไว้ ซึ่งถ้าผู้แนะนําการลงทุนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามแนวทางของสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดไว้ซึ่งจะมีบทลงโทษทางปกครองสําหรับ ผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําความผิดโดยการพักหรือเพิกถอนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แนะนําการลงทุน ซึ่งหากพิจารณาถึงลักษณะของพฤติกรรมการกระทําความผิดของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําทุจริต เช่น ฉ้อโกงหรือยักยอกต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน จะพบว่าการดําเนินการลงโทษทางปกครองกับผู้ แนะนําการลงทุนนั้นไม่เพียงพอต่อการยับยั้งการกระทําความผิดของผู้แนะนําการลงทุน ดังนั้นจึงมี ความจําเป็นอย่างมากที่จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่รุนแรงขึ้นเพื่อปูองกันไม่ให้ผู้แนะนําการ ลงทุนกระทําทุจริตต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน เอกัตศึกษาเล่มนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาบทลงโทษทางปกครองของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทํา ความผิดเพื่อเปรียบเทียบกับฐานความผิดการลงโทษทางอาญาสําหรับพฤติกรรมของผู้แนะนําการ ลงทุนที่กระทําทุจริตต่อทรัพย์สินของผู้ลงทุน โดยศึกษาแนวทางมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่ ฉ้อโกง ยักยอกหรือหลอกลวง แนวทางมาตรการลงโทษของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้พบว่าทางสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้มีมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่ทุจริตหรือการหลอกลวงที่ เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ รวมถึงการฉ้อโกงหลักทรัพย์ซึ่งมีผลต่อหน้าที่เป็นตัวแทน นายหน้าและที่ปรึกษาทางการเงินในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ใน พระราชบัญญัติประกันชีวิตในประเทศไทยได้มีมาตรการลงโทษทางอาญาสําหรับผู้ที่กระทําทุจริต หลอกลวง ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายของการกํากับดูแลบุคลากรในตลาดทุนสําหรับ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทําทุจริตของผู้ แนะนําการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาเพื่อรองรับการดําเนินการมาตรการทางอาญา เฉพาะพฤติกรรมของผู้แนะนําการลงทุนที่กระทําทุจริต ฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์สินของผู้ลงทุน โดย มาตรการริบทรัพย์, มาตรการลงโทษปรับ และมาตรการลงทาจําคุก มาใช้เป็นมาตรการเสริมสําหรับ การบังคับใช้กฎหมายเพิ่มเติมจากมาตรการลงโทษทางปกครองที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจทําให้บรรลุ วัตถุประสงค์ในการปูองกันไม่ให้ผู้แนะนําการลงทุนหรือบุคลากรในตลาดทุนกระทําทุจริตต่อทรัพย์สิน ของผู้ลงทุน

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.