Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.117

Abstract

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาของประมวลรัษฎากรไทยในปัจจุบันที่ไม่มี ความยืดหยุ่นในหลักเกณฑ์ของการตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย โดยศึกษาหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวของกฎหมายของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีการกําหนด ในกฎหมายอย่างชัดเจนและเป็นการช่วยลดภาระแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงรายการเพื่อ คํานวณกําไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อันสอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีในเรื่อง ความ ยืดหยุ่นและหลักการบริหารที่ดี จากการศึกษาพบว่า ประมวลรัษฎากรไทยยึดถือในหลักกรรมสิทธิ์และหลักประโยชน์ใช้สอย เท่านั้น โดยยังไม่มีบทบัญญัติใดอนุโลมให้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในหลักความมี นัยสําคัญ จึงทําให้ยังมีประเด็นปัญหาที่สําคัญในการตัดจําหน่ายและคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยอยู่ 3 ประการ คือ (1) ประมวลรัษฎากรไม่มีหลักเกณฑ์ข้อผ่อนปรนสําหรับ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยเฉกเช่นเดียวกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (2) แนวปฏิบัติของกรมสรรพากร ไม่สะท้อนความเป็นจริงของการมีอยู่ของทรัพย์สิน และ (3) ต้นทุนในการปรับปรุงรายการในการ คํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามเงื่อนไขการคํานวณกําไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม) เกี่ยวกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน อาจจะสูงเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติให้ ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ซึ่งปัญหาทั้ง 3 ประการนี้ ถือเป็นการสร้างภาระเกินจําเป็นแก่ ผู้ประกอบการและยังไม่สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการเกณฑ์การตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ พบว่ากฎหมายของทั้ง 2 ประเทศมีการ กําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน รวมทั้งมีตัวอย่างการคํานวณและใช้สิทธิอย่างละเอียด ซึ่งเป็นการช่วยอํานวยความสะดวกและเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการในการคํานวณและตัด จําหน่ายค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรนําแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ เพื่อเป็นการพัฒนาหลักเกณฑ์ในประมวลรัษฎากรไทยให้สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีและ อํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการนําหลักเกณฑ์ของต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาข้างต้น โดยผู้เขียนเห็นว่าวิธีการดังกล่าวมีความเหมาะสมและ ควรปรับปรุง สามารถประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ ซึ่งจะทําให้เกิดความชัดเจนในประมวลรัษฎากร ไทย และเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน สินทรัพย์ใหม่ของกิจการ และช่วยให้กระแสเงินสดมีความคล่องตัวมากขึ้น

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.