Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.116

Abstract

เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีการยอมรับในเพศทางเลือกมากขึ้นจากในอดีต จึงทำให้ปัจจุบันมีการใช้ชีวิตในลักษณะคู่ชีวิตเพศเดียวกันมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีการใช้ชีวิตร่วมกันในรูปแบบชีวิตคู่ทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก ตลอดจนการสร้างครอบครัวให้ปรากฏชัดในสังคม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมและกรอบแนวความคิดเรื่องการยอมรับความหลากหลายทางเพศ จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมในเรื่องการใช้ชีวิตของกลุ่มเพศเดียวกันและเพศทางเลือกมากขึ้น โดยปรัชญาของนิติศาสตร์เองมีเพื่อตอบสนองปัญหาของสังคม ณ ขนะนั้นเนื่องจากสังคมมีพลวัตและเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยระบบฎหมายในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสที่เป็นเพศเดียวกัน กล่าวคือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 กฎหมายลักษณะครอบครัว ไม่ได้บัญญัติรับรองถึงการสมรสของคู่ชีวิตเพศเดียวกัน จึงเป็นผลให้ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลผูกพันธ์ทางกฎหมายได้ ผลที่ตามมาก็คือบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการรับรองในเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย และยังมีเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันในการใช้ชีวิตคู่ของกลุ่มบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้ทางหลักนิติศาตร์ยังไม่ได้มีการยอมรับอย่างเป็นรูปธรรม ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่รับรองสถานะของการเป็นคู่สมรส หรือกฎหมายที่ให้สิทธิคุ้มครองในการครองคู่แก่คนกลุ่มเพศทางเลือกแต่ประการใด ที่ผ่านมาได้มีการทำสำรวจเรื่อง “สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่ 3” จากนิด้าโพลเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยผลการสำรวจพบว่า การยอมรับของประชาชนกรณีมีเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานในองค์กรเป็นเพศที่ 3 ร้อยละ 90.15 ระบุว่า ยอมรับได้ ในขณะที่ร้อยละ 7.78 ระบุว่าไม่สามารถยอมรับได้ ดังนี้แล้วจึงมีเหตุผลและความจำเป็นในการจัดทำเอกัตศึกษานี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ของการให้สิทธิต่าง ๆ ทางกฎหมายแก่บุคคลเพศทางเลือก ตลอดจนเหตุผลสนับสนุนการบังคับใช้พระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. ... อันจะทำให้กลุ่มเพศทางเลือกมีสิทธิ และบทบาททางสังคมที่เทียบเท่ากันกับบุคคลอื่นในสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งจะเกิดผลกระทบในทางเศรษฐศาสตร์ในเชิงบวกโดยตรง ดังนั้น การยอมรับทางสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแต่การยอมรับทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้สิทธิต่าง ๆ จะสามารถส่งผลในทางบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ หลายคนอาจมองว่าการจดทะเบียนนั้นไม่สำคัญสำหรับคนสองคนจะเป็นครอบครัวเดียวกันแค่คนสองคนรักกันก็พอ แต่ถ้ามองถึงสิทธิของพลเมือง การจดทะเบียนสมรสควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงจะได้ นอกจากนี้ยังเป็นการยืนยันสิทธิและแสดงหน้าที่ของคนทั้งสองได้มากกว่าแค่ความรัก การจดทะเบียนสมรสอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คู่รักทุกคู่ต้องการ ขึ้นกับความสมัครใจของคนสองคน แต่การจดทะเบียนสมรสเป็นสิ่งที่พลเมืองทุกคนก็ควรจะได้รับสิทธิในการจดทะเบียนที่เท่าเทียมกัน แต่บุคคลคนกลุ่มเพศทางเลือกนั้นยังไม่ได้รับสิทธินี้

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.