Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2018

Document Type

Independent Study

First Advisor

ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2018.24

Abstract

การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือก๊าซชีวภาพนั้นเกิดขึ้นในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว และทางรัฐบาลก็มีนดยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนในหลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นมาตรการที่มิใช่ทางภาษีและมาตรการทางภาษี เช่น มาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน มาตรการการลดหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านทางการรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มาตรการเกี่ยวกับภาษีศุลกากร เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้มาตรการส่งเสิรมการลงทุนของประเทศไทยที่มีอยุ่ปัจจุบันนั้น เป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเฉพาะการลงทุนในส่วนของนิติบุคคลที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น และมาตรการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่ผู้ลงทุนมีการนำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในกิจการ แต่ในส่วนของกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้นกลับไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนไม่สามารถที่จะใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการนี้ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังไม่มีมาตรการส่งสเริมที่เป็นให้การทั่วไปกับกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ดังนั้น หากมองในด้านของกิจการ บถคคลเหล่านี้ย่อมไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการนี้เลย ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นอาจเป็นเหตุให้มีความไม่แน่นอนและส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้ นับเป็นอุปสรรคในการเข้ามาประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนของต่างประเทศมาปรับใช้ โดยทำการพิจารณาตามความเหมาะสมกับประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษา ได้แก่ ประเทศเวียดนามและประเทศเยอรมนีพบว่าการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกของทั้งสองประเทศมีลักษณะไปในทิศทางเดียวกันกับประเทศไทย กล่าวคือ ทั้งสองประเทศดังกล่าวมุ่งพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนและมีนโยบายต่าง ๆ ที่เป็นการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตขาดแคลนพลังงาน ลดปัญหาการเกิดภาวะโลกร้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยการส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียน ซึ่งประเทศไทยสามารถที่จะศึกษานโยบายการส่งเสิรมการใช้พลังงานทดแทนจากกลุ่มประเทศดังกล่าวเพื่อนำมาปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยได้ จากการศึกษาพบว่าควรผลักดันให้มีมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางภาษีในการสนับสนุนธุรกิจพลังงานทดแทนเป็นการทั่วไป ซึ่งหากประเทศไทยมีมาตรการดังกล่าวและมีการใช้บังคับ ซึ่งจะมีส่วนช่วยดึงดูดให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น และมีผลทำให้ประเทศไทยก็จะมีทางเลือกในการใช้พลังงานมากขึ้นและเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า รวมทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.