Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Jaokote (kinship) system and community justice system: a case study on Ban Siao, Wang Chai subdistrict, Nam Pong district, Khon Kaen province

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย

Faculty/College

Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)

Department (if any)

Department of Sociology and Anthropology (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)

Degree Name

ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.1009

Abstract

“ระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชน: กรณีศึกษาบ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา รูปแบบและกลไกดำเนินงานของระบบเจ้าโคตรที่เป็นงานยุติธรรมเชิงจารีต ประเภทคดีหรือลักษณะข้อพิพาทที่ใช้ยุติปัญหา รวมถึงข้อดีและข้อจำกัดของการใช้ระบบเจ้าโคตร สภาพการดำรงอยู่ภายในชุมชนและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อระบบเจ้าโคตรเมื่อมีการนำงานยุติธรรมชุมชนรูปแบบอื่น ๆ ของภาครัฐเข้ามาใช้ปฏิบัติ ซึ่งสะท้อนถึงการรับรู้และมุมมองต่อการใช้ระบบเจ้าโคตรของหน่วยงานภาครัฐ และให้ข้อเสนอแนะเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสาร วิธีการสนทนาแบบกลุ่ม และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบบเจ้าโคตรมีผู้อาวุโสที่คู่กรณีและชุมชนเคารพนับถือ เชื่อใจ และยอมรับในความประพฤติและการพูดจาให้เหตุผลเมื่อตัดสินความขัดแย้งให้เข้ามาทำหน้าที่คนกลางไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยกระบวนการระงับข้อพิพาทจะเป็นแบบเรียบง่ายที่คนกลางพูดคุยซักถามเรื่องราวและเหตุผลจากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายแล้วตัดสินความ แล้วจึงให้คู่กรณีตกลงเรื่องการชดใช้เยียวยากันโดยตรงต่อหน้าคนกลางและเริ่มต้นไกล่เกลี่ยสมานฉันท์ และร่วมกันการสร้างข้อตกลงจากการระงับข้อพิพาทที่คำนึงถึงความต้องการของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย หมู่บ้านเสียวจะใช้ระบบเจ้าโคตรกับความผิดที่มีเด็กหรือเยาวชนเป็นผู้กระทำ การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ความผิดที่กระทำต่อกันโดยประมาท ความผิดอาญาต่อส่วนตัวซึ่งรวมถึงคดีอนาจาร และความผิดลหุโทษ ระบบเจ้าโคตรมีข้อดี คือ ช่วยรักษาสภาพจิตใจคู่กรณีและดำรงสัมพันธภาพร่วมกันเอาไว้ ช่วยลดภาระของทางราชการและลดความขัดแย้งในสังคม ช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายประชาชนไปพร้อมกับลดปัญหาการดำเนินงานซึ่งกระบวนการยุติธรรมกำลังประสบอยู่โดยระงับไม่ให้ข้อพิพาทเล็กน้อยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทว่ามีข้อจำกัด ได้แก่ การยึดโยงอยู่กับศรัทธาต่อตัวบุคคลทำให้ระบบขาดเสถียรภาพ อาจมีความเหมาะสมที่จะใช้ในสังคมขนาดเล็ก และไม่มีกฎหมายรองรับผลของการไกล่เกลี่ยหากเจ้าโคตรไม่ใช่ผู้ผ่านการอบรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน 2) ระบบเจ้าโคตรดำรงอยู่อย่างมีสัมพันธภาพกับงานยุติธรรมชุมชนแบบอื่นๆของภาครัฐ โดยการปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขการดำเนินงานยุติธรรมชุมชนของภาครัฐ ได้แก่ การมีคนกลางมากกว่าหนึ่งคน และการให้จัดทำเอกสารลายลักษณ์อักษรในกระบวนการระงับข้อพิพาทเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงตามกฎหมาย 3) ภาครัฐมีการรับรู้ระบบเจ้าโคตรที่ใช้จัดการความขัดแย้งภายในชุมชนอย่างจำกัด แม้ว่าจะมีมุมมองว่าระบบเจ้าโคตรมีศักยภาพต่อการระงับข้อพิพาทเบื้องต้นแต่ยังมีท่าทีแบ่งรบแบ่งสู้หากจะต้องส่งเสริมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานยุติธรรมชุมชนในพื้นที่ 4) ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อการเชื่อมโยงระบบเจ้าโคตรกับระบบงานยุติธรรมชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมคือ ควรส่งเสริมให้ชุมชนนำระบบเจ้าโคตรซึ่งเป็นยุติธรรมเชิงจารีตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานยุติธรรมชุมชนในหมู่บ้านอย่างจริงจัง และควรเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ทางกฎหมายที่จำเป็น และสนับสนุนให้ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกเครือข่ายศูนย์ยุติธรรมชุมชน และเจ้าโคตรรุ่นปัจจุบันอีกจำนวน 2 คนได้รับการอบรมในหลักสูตรผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนตามกฎหมาย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Jaokote (Kinship) System and Community Justice System : A case study on Ban Siao, Wang Chai Subdistrict, Nam Pong District, Khon Kaen Province is a qualitative research aiming to study the background, model, and operation of the Jaokote system, which is a customary justice work, also the type of litigation or dispute used to settle the issue, including the advantages and limitations of using the system , the condition of existence of Jaokote system within the community and the changes that occur when other community justices are implemented by the government that reflects the government agencies’ perception and perspective on the use of Jaokote system, and finally suggesting the linkage between the Jaokote system and the community justice system for benefit of the justice system development. The researcher collected data by using three techniques: documentary study, focus group, and in-depth interviews with 12 key informants for content analysis. The results of the study revealed that 1) the Jaokote system had elders whom the parties and community respected, trusted, and accepted their behavior and rationalization when judging conflicts to mediate and settle disputes between the individuals. The dispute resolution process is simple: the mediator inquires about the stories and reasons of both parties, then lets the parties directly agree on compensation in front of the mediator and mediates reconciliation. After that, jointly establish a dispute settlement agreement that takes into account the needs of both parties. Ban Siao will use the Jaokote system for crimes committed by children or youths, domestic violence, offenses committed against each other through negligence, private crimes, including indecency, and misdemeanors. The Jaokote system has the advantage of helping to maintain the mental state of the parties and their relationship together. It also reduces the burden on the local government and reduces conflicts in society. This saves time and costs for the public while minimizing the operational problems faced by the criminal justice system by suppressing minor disputes. There are limitations; for example, clinging to faith in the individual destabilizes the system; it may be appropriate to use in smaller societies; and there is no law to support the effect of mediation if Jaokote, the community mediator, is not trained to register as a public sector mediator. 2) The Jaokote system exists in relation to other types of community justice work in the public sector. By adjusting to the conditions of community justice operations in the government sector, including having more than one mediator and the provision of written documents in the dispute resolution process as evidence for legal reference. 3) The government sector has limited awareness of the Jaokote system used to deal with conflicts within the community. Although there is a view that the Jaokote system has the potential to initially settle disputes, there is still a hesitant response if it has to be promoted as part of the local justice system. 4) The researcher’s recommendations for linking the Jaokote system for the benefit of the justice process are that the community should be encouraged to seriously adopt the Jaokote system, which is traditional justice, as part of the community justice system in the village. And the government sector should come to help with the necessary legal knowledge and support the village headman, the village committee, the members of the community justice network, and the current generations of Jaokote who have been trained in the mediation course according to the Mediation Act B.E. 2562 (2019) in order to register as public sector mediators in accordance with the law.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.